Archive | ข่าว

นักเรียนต่างชาติเรียนต่อนิวซีแลนด์ 8 เดือนพุ่ง 43% ไทยติด 5 อันดับแรกรองจากจีน-อินเดีย-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

นักเรียนต่างชาติเรียนต่อนิวซีแลนด์ 8 เดือนพุ่ง 43% ไทยติด 5 อันดับแรกรองจากจีน-อินเดีย-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

Posted on 24 มีนาคม 2024 by writer

นิวซีแลนด์เปิดเผยตัวเลขนักเรียนต่างชาติเรียนต่อนิวซีแลนด์ 8 เดือนแรกของปี 2023 (พ.ศ.2566)  เพิ่มขึ้น 43%  เมื่อเทียบกับตัวเลขทั้งปีของปี 2022 (พ.ศ.2565)   นักเรียนไทยแห่เรียนมากเป็นอันดับ 5 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย  

 Hon P Simmonds_resize

นาง เพนนี ซิมมอนด์ส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาและทักษะ (Minister for Tertiary Education and Skills, Hon Penny Simmonds) ของนิวซีแลนด์ ได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนนักเรียนต่างชาติที่ลงทะเบียนศึกษาต่อกับสถาบันการศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ในช่วง 8 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2023 พบว่ามีนักศึกษาต่างชาติจำนวนทั้งสิ้น  59,306 ราย  ซึ่งคิดเป็นอัตราเพิ่มสูงขึ้นถึง 43% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี 2022

ในจำนวนนี้พบว่า นักศึกษาจากประเทศจีนลงทะเบียนศึกษาต่อมากเป็นอันดับ 1 เป็นจำนวน 36% รองลงมาคืออินเดีย 10% ญี่ปุ่น 10% เกาหลีใต้ 5% และไทย 4%  ซึ่งจำนวนนักเรียนและนักศึกษาจากประเทศไทยติดอันดับอยู่ใน 5 อันดับแรก เติบโตจากก่อนมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ไทยจัดอยู่ในอันดับ 7

“จำนวนนักเรียนต่างชาติที่ลงทะเบียนศึกษาต่อในนิวซีแลนด์มากกว่า 59,000 ราย ในเวลาเพียง 8 เดือน เป็นการยืนยันว่านักศึกษาต่างชาติยังคงมองว่านิวซีแลนด์เป็นประเทศจุดหมายปลายทางและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่น่าดึงดูด โดยเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยซึ่งผู้เรียนอาจใช้เวลาเรียนเป็นเวลาหลายปี ได้มีนักศึกษาลงทะเบียนศึกษาต่อถึง 27,535 ราย ซึ่งจะฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตของจำนวนนักศึกษาได้อีก” นางซิมมอนด์ส กล่าว

445439-library_resize

จำนวนนักศึกษาต่างชาติที่ลงทะเบียนศึกษาต่อในนิวซีแลนด์เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2023 กับปี 2022 พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเกือบทุกภาคส่วน โดยเฉพาะโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 347% จาก 1,565 ราย เป็น 7,001 ราย รองลงมาคือในระดับโรงเรียนมีรายงานว่าเพิ่มขึ้น 114% จาก 5,925 ราย เป็น 12,662 ราย สถาบันเทคโนโลยีและโพลีเทคนิคเพิ่มขึ้น 32% จาก 4,955 ราย เป็น 6,560 ราย  ส่วนระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 15% จาก 24,040 ราย เป็น 27,535 ราย และสถานประกอบการฝึกอบรมเอกชน เพิ่มขึ้น 13% จาก 5,000 ราย เป็น 5,671ราย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยและในโรงเรียน  ยังคงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์สำหรับนักศึกษาต่างชาติ

นางสาวช่อทิพย์ ประมูลผล  ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2023 จำนวนผู้ถือวีซ่านักเรียนจากประเทศไทยเติบโตขึ้นกว่า 150% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2022

“ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีนักเรียนต่างชาติไปเรียนต่อนิวซีแลนด์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงนักเรียนไทยที่ลงทะเบียนเรียน ภาษาอังกฤษ รวมถึงศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์” นางสาวช่อทิพย์ กล่าวเสริม

166801-library_resize

นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่เปิดกว้างทางการศึกษา ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จาก The Economist Intelligence Unit เป็นเวลา 3 ปีซ้อน ในการพัฒนาเด็กนักเรียนสู่อนาคตที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากระบบการศึกษาของนิวซีแลนด์มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์โลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อนักเรียนที่จบการศึกษาที่นิวซีแลนด์มีทักษะที่เหมาะสมกับโลกในอนาคตอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ ดูได้ที www.studywithnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน นักเรียนต่างชาติเรียนต่อนิวซีแลนด์ 8 เดือนพุ่ง 43% ไทยติด 5 อันดับแรกรองจากจีน-อินเดีย-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์

ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์

Posted on 21 มีนาคม 2024 by writer

First Friend In Class_resize

          การเรียนต่อในต่างประเทศถือเป็นประสบการณ์ที่ท้าทายและคุ้มค่าอย่างมาก แต่การที่จะเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น ผู้เรียนต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริบท ความคาดหวังและข้อกำหนดของระบบการศึกษาในประเทศนั้นๆด้วย

          นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมการศึกษาโลก เพราะด้วยระบบการศึกษาพื้นฐานที่แข็งแกร่งได้รับการยอมรับในระดับสากล สภาพแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัย ธรรมชาติสวยงาม มีความเป็นพหุวัฒนธรรมโอบรับความหลากหลายในประเทศ และอนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติสามารถทำงานต่อได้สูงสุดถึง 3 ปีหลังเรียนจบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้นิวซีแลนด์เป็นหมุดหมายสำคัญทางด้านการศึกษาของนักศึกษานานาชาติจากทั่วโลก

          นางสาวช่อทิพย์ ประมูลผล  ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่เปิดกว้างทางการศึกษาและต้อนรับนักเรียน นักศึกษาจากหลากหลายประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีมีนักเรียนต่างชาติเดินทางไปเรียนต่อนิวซีแลนด์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงนักเรียนไทยกว่า 1,800 คน ซึ่งมีทั้งระดับมัธยมศึกษา เรียนภาษาอังกฤษ  และการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์

          “ระบบการศึกษาของนิวซีแลนด์ มุ่งเน้นสอนนักเรียนให้คิดเชิงวิเคราะห์ เน้นฝึกการแก้ปัญหาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคต โดยการศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งของนิวซีแลนด์ ถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มท็อป 1% ของโลก ทุกมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญกับการความทุ่มเทในการเรียนการสอนเพื่อผลลัพธ์อันเยี่ยมยอด” นางสาวช่อทิพย์ กล่าวและเสริมว่า

Library Image-classroom_resize

          อย่างไรก็ตาม การเรียนในมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย นักเรียนต่างชาติควรมีการเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ให้ดีก่อน  โดยมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี่ (University of Canterbury) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองของนิวซีแลนด์ ที่มี UC Business School ติดอันดับท็อป 1% ของโลก ได้ให้คำแนะนำแนวทางการเตรียมตัวสู่ความสำเร็จดังนี้

  • ทำความเข้าใจวัฒนธรรมและการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ พร้อมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวัง วิธีการทำงาน และข้อกำหนดเงื่อนไขของระบบมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ ถือเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จในการศึกษาในมหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์
  • เตรียมพร้อม ปรับตัว และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และด้านการศึกษา เปิดมุมมองใหม่และยอมรับประสบการณ์ใหม่ๆ อย่าเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์
  • กำหนดเป้าหมายระยะยาวเพื่อสร้างแรงจูงใจ เพราะการศึกษาในมหาวิทยาลัยมีความท้าทาย ต้องใช้เวลานานและอาจเผชิญกับความเครียดและกดดันในการทำงานและปฏิบัติตามกำหนดเวลา ดังนั้น การมีเป้าหมายจะช่วยให้เรามีแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย
  • เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนแบบอิสระ การศึกษาในมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์อาจมีความอิสระมากกว่าที่เราคิด ผู้เรียนต้องทำเองตั้งแต่การเลือกคอร์สเองจนถึงการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ผู้เรียนต้องรู้จักศึกษาและพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเรียนรู้อิสระ เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนที่จะส่งงานตรงตามเวลา ไม่มีใครช่วยตรวจสอบถ้าไม่ทำตามกำหนด หากต้องการขยายเวลาผู้เรียนต้องหารือเรื่องนี้กับครูก่อนวันกำหนดเอง
  • ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ:การลอกเลียนและการอ้างอิง มหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์มีความเข้มงวดเรื่องการลอกเลียนแบบไอเดีย การอ้างอิงแหล่งข้อมูล ต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นกล่าวอ้างหรือเขียนเป็นผลงานของตนเอง
  • เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์อาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักเรียนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และต้องมีการพัฒนาภาษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเทคนิค ดังนี้

AKL card 10 1119_resize

  1. หาพจนานุกรมภาษาอังกฤษที่ดี เพื่อหาความหมาย การสะกดและออกเสียง อย่างถูกต้อง
  2. ฝึกพูดภาษาอังกฤษให้มากที่สุด พูดคุยกับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักอย่างสม่ำเสมอและมีส่วนร่วมในการสนทนาในชั้นเรียนเพื่อช่วยพัฒนาและเพิ่มความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ
  3. ฝึกเขียนภาษาอังกฤษทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการเขียนทางวิชาการ แต่อาจเป็นการเขียนไดอารีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำในวันนั้นๆ หรือข้อความส่งถึงเพื่อน หรือเขียนบันทึกข้อความบางสิ่งเพื่อเตือนตัวเอง
  4. ฝึกอ่านภาษาอังกฤษและสังเกตว่าภาษาอังกฤษถูกใช้อย่างไรในหนังสือและบทความทางวิชาการ โดยอ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหา และอ่านอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับโครงสร้างภาษาที่เฉพาะเจาะจง
  5. บันทึกสมุดคำศัพท์ใหม่ๆ จดคำศัพท์ใหม่ที่พบขณะอ่านพร้อมกับความหมาย (จากพจนานุกรม) ส่วนที่เป็นประธาน (นาม กริยา ฯลฯ) และวิธีการใช้คำนั้นในประโยค
  • นอกจากนี้ เนื่องจากนิวซีแลนด์มีลักษณะทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีนักศึกษาและบุคลากรที่มาจากทั่วโลก นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมี ภาษาท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ที่เรียกว่า Te Reo Māori  เป็นภาษาทางการอีกหนึ่งภาษา ซึ่งบางครั้งนักศึกษาอาจพบเจอการใช้ภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่นในการกล่าวต้อนรับ บนป้ายชื่อ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ รอบรั้วมหาวิทยาลัย ดังนั้นนักศึกษาต่างชาติควรทำความเข้าใจและคุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่นเบื้องต้นด้วย
  • รู้จักพัฒนาเครือข่ายทางสังคม เพราะการเรียนต่อในต่างประเทศทำให้เราอยู่ห่างจากครอบครัว เพื่อนและวัฒนธรรมบ้านเกิด การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมจะช่วยสนับสนุนให้เรามีตัวช่วยมากขึ้น
  • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น รวมถึงการจัดสรรสมดุลเรื่องสุขภาพ  จัดการเวลา ให้สามารถออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดี สนุกสนานกับทิวทัศน์ที่สวยงามของนิวซีแลนด์ และใช้เวลากับเพื่อนใหม่นอกเหนือจากการทำงานที่มีต่อการศึกษาของคุณ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ดูได้ที www.studywithnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน ควรเตรียมตัวอย่างไร ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รับคณะผู้บริหาร CEO#7 ศึกษาดูงานฯ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รับคณะผู้บริหาร CEO#7 ศึกษาดูงานฯ

Posted on 14 มีนาคม 2024 by writer

CEO#7 ศึกษาดูงาน อพวช '24_resize

            ดร. กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ ผศ. (พิเศษ) ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ ที่ปรึกษาหลักสูตรฯ นำคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 7 จำนวน 92คน ศึกษาดูงานพร้อมฟังบรรยายหัวข้อ “กรณีศึกษา Digital Transformation on Accounting” โดยนายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ เพื่อนำเทคโนโลยีประยุกต์ไปใช้ในการดำเนินงานขององค์กรฯ ณ ห้องประชุม ห้อง IT Auditorium อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (อพวช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จ.ปทุมธานี เมื่อเร็วๆนี้

CEO#7 ศึกษาดูงาน อพวช-1

ปิดความเห็น บน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รับคณะผู้บริหาร CEO#7 ศึกษาดูงานฯ

นักเรียนทุนนายกนิวซีแลนด์ PMSA ชื่นชมธุรกิจการเกษตร-วัฒนธรรมไทย

นักเรียนทุนนายกนิวซีแลนด์ PMSA ชื่นชมธุรกิจการเกษตร-วัฒนธรรมไทย

Posted on 13 มีนาคม 2024 by writer

Lincoln-ร่วม Master Class

          จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีสำหรับโครงการเอเชียนซัมเมอร์โปรแกรมแลกเปลี่ยนความรู้ ของนักศึกษาทุนนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ (The Prime Minister’s Scholarship for Asia; PMSA) แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของไทยและนิวซีแลนด์ โดยความร่วมมือของหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์  (Education New Zealand : ENZ) ร่วมกับ สถาบันการศึกษาของไทยและนิวซีแลนด์

          ในปีนี้ยังได้มีการลงนามความร่วมมือ MOU แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และต่อยอดความสัมพันธ์ด้านการศึกษาระหว่าง มหาวิทยาลัยลินคอล์น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยมี ศาสตราจารย์คริสโตเฟอร์ แกน หัวหน้าภาควิชาธุรกิจการเกษตรและการพาณิชย์ มหาวิทยาลัยลินคอล์น(Prof. Christopher Gan, Head of Department, Faculty of Agribusiness and Commerce) ลงนามร่วมกับ ผศ.ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ผู้แทนอธิการบดี) และนางสาวจารุวรรณ พงษ์จารุวัฒน์ ผู้อำนวยการด้านการศึกษา หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

Lincoin-ลงนามความร่วมมือ MOU

          นางสาวจารุวรรณ พงษ์จารุวัฒน์ เปิดเผยว่า การศึกษาของนิวซีแลนด์มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงเป็นโอกาสที่ดีมากของน้องๆนักศึกษาทุน PMSA ที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนความรู้ในประเทศไทยครั้งนี้ที่ได้มาสัมผัสประสบการณ์จริง เยี่ยมชมสถานที่จริง นอกจากน้องๆจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านภาคธุรกิจการเกษตรที่ประเทศไทยมีความโดดเด่นในการเป็นเมืองเกษตรกรรม ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาและบริบทภาคธุรกิจการเกษตร(Agribusiness) ของนิวซีแลนด์

          นักศึกษาทุน PMSA ในปีนี้รวมทั้งสิ้น 33 คน แบ่งเป็นสองคณะ คือ มาจากมหาวิทยาลัยลินคอล์น (Lincoln University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของนิวซีแลนด์และมีความโดดเด่นทางด้านภาควิชาธุรกิจการเกษตร จำนวน 16 คน และจาก University of Auckland ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของนิวซีแลนด์อีก 17 คน โดยน้องๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศไทย ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบของการบรรยาย และการเข้าเยี่ยมชมสถานที่จริง อาทิ

  • ฟาร์มปลูกผักปลอดสารพิษระบบปิด DiStar Fresh Farm ที่ใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดินในห้องปลอดเชื้อและเทคโนโลยีการเกษตรควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อปลูกผลผลิตคุณภาพสูงตลอดทั้งปี
  • เยี่ยมชมการผลิตไวน์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสานซึ่งเป็นผลผลิตจากชุมชน และเยี่ยมชมไร่องุ่นและโรงไวน์ GradeMonte ที่นครราชสีมา ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของนิวซีแลนด์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการผลิตไวน์คุณภาพ
  • เยี่ยมชมฟาร์มแมลงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผักปลอดภัยจากสารเคมีในจังหวัดขอนแก่น ร่วมสัมผัสประสบการณ์ตรงที่วิสาหกิจชุมชนบ้านแพง เยี่ยมชมเรือนกระจกและสวนพฤกษศาสตร์ ปตท. จังหวัดระยอง เรียนรู้ป่าเขตร้อนที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  เรียนรู้การทอผ้าไหมไทยและเครื่องแต่งกายแบบไทยอีสาน
  • เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย เรียนวิชา “มวยไทย” ที่ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมเข้าร่วม “Master Class” เรียนรู้วิธีทำอาหารไทย ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประทับใจกับเอกลักษณ์ความเป็นไทยกับการแต่งกายด้วยชุดไทยที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
  • เรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนบางกอบัว บางกะเจ้า ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นสถานที่กำจัดขยะ และได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำที่เจริญรุ่งเรืองอันดับต้นๆของไทย โดยนักศึกษาล่องเรือชมวิถีชาวบ้านผ่านอุโมงค์ต้นจาก (ปาล์ม) ซึ่งเป็น “ปอดสีเขียว” ของชุมชน พร้อมเรียนรู้ศิลปะการมัดย้อมโดยใช้สีธรรมชาติที่สกัดจากพืชพรรณโดยรอบ

Lincoln-ร่วม Master Class

  • บ้านเครื่องปั้นดินเผาไทย-มอญ และเกาะเกร็ด เรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาแบบมอญแบบมืออาชีพที่บ้านดินมอญ พร้อมเยี่ยมชมวัดท้องถิ่น วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาะเกร็ด
  • ชุมชนถ้ำรงค์ จ.เพชรบุรี: หมู่บ้านที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคของอาเซียนในด้านแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน โดยมีสวนตาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้เรียนรู้ศิลปะการเก็บน้ำตาล ทำขนมตาล และงานฝีมือแบบดั้งเดิมที่ทำจากใบตาล
  • พิพิธภัณฑ์ปานถนอม (กลุ่มไทยทรงดำ-กลุ่มชาติพันธุ์): เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณี และความเชื่อของชาวไทยทรงดำ
  • ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง Urban Studies Lab: เรียนรู้ย่านประวัติศาสตร์ที่เผชิญกับความท้าทายสมัยใหม่ ผ่านเวิร์กช็อปแบบอินเทอร์แอกทีฟ อาทิ ขยะและการพัฒนาชุมชน จัดแสดงแนวคิดริเริ่มในการรีไซเคิลที่สร้างแรงบันดาลใจ และโรงละครชาตรีอันโด่งดัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์วัฒนธรรม

          ลอเรน  วัตสัน (Lauren Watson) นักศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยม)  สาขานโยบายและการวางแผนสิ่งแวดล้อม (Bachelor of Environmental Policy and Planning; Honours) คณะธุรกิจการเกษตรและการพาณิชย์ มหาวิทยาลัยลินคอล์น กล่าวว่า การได้รับทุนการศึกษา PMSA และได้มีโอกาสเดินทางมาเรียนรู้เกี่ยวกับภาคธุรกิจการเกษตรและแนวทางการทำธุรกิจการเกษตรต่างๆในประเทศไทยครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ทำให้ได้เรียนรู้ถึงแนวทางการทำธุรกิจ ช่วยเพิ่มพูนความรู้และสามารถนำไปต่อยอดสร้างโอกาสการส่งออกที่สำคัญในนิวซีแลนด์ ที่มหาวิทยาลัยลินคอล์นเปิดกว้างมากทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆหลักสูตรใหม่ๆ ถึงแม้ว่า Lincoln University จะมีชื่อเสียงทางด้านสาขาธุรกิจการเกษตร แต่ยังมีสาขาวิชาอื่นๆ เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม อสังหาริมทรัพย์ และสาขาอื่นๆ ที่ช่วยสร้างโอกาสและเสริมความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้คนจำนวนมากที่ทำปริญญาธุรกิจเกษตรกรรม เพราะเป็นวิชาเลือกที่สามารถเลือกได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสมากมายที่จะได้ลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หลักสูตรใหม่ๆ

Lincoln-ลอเรน วัตสัน (Lauren Watson) และ เบรดี้ บัลลาร์ด (Brady Ballard)

          เบรดี้ บัลลาร์ด (Brady Ballard) กำลังศึกษาอนุปริญญาสาขาการจัดการฟาร์ม (Diploma Farm Management) ) คณะธุรกิจการเกษตรและการพาณิชย์ มหาวิทยาลัยลินคอล์น เปิดเผยว่า ตนมีความพยายามอย่างมาก ทุ่มเทอย่างหนักเพื่อให้ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในตัวแทนนักเรียนทุนนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์มายังประเทศไทย ถือเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากที่ได้ออกไปชมสถานที่ต่างๆมากมาย ได้สัมผัสกับระบบในต่างประเทศที่แตกต่างกับที่นิวซีแลนด์ ได้ชมการเกษตรกรรมที่หลากหลายในฟาร์มแต่ละแห่ง และเห็นว่าฟาร์มของพวกเขาแตกต่างไปจากเราอย่างไร และพวกเขาสามารถเลี้ยงดูครอบครัวด้วยสิ่งที่พวกเขามีได้อย่างไร ชมวิถีชีวิต และชื่นชมว่าผู้คนที่นี่น่ารักและต้อนรับทุกคนเป็นอย่างดี ถือเป็นประสบการณ์ที่วิเศษมากๆครับ

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ ดูได้ที www.studywithnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน นักเรียนทุนนายกนิวซีแลนด์ PMSA ชื่นชมธุรกิจการเกษตร-วัฒนธรรมไทย

ผู้เชี่ยวชาญฯ เผยเทคนิคการเลือกซื้อเพชรและตรวจสอบง่ายๆ ด้วยหลัก 4Cs ได้เพชรแท้ น้ำงาม เสริมราศีผู้สวมใส่

ผู้เชี่ยวชาญฯ เผยเทคนิคการเลือกซื้อเพชรและตรวจสอบง่ายๆ ด้วยหลัก 4Cs ได้เพชรแท้ น้ำงาม เสริมราศีผู้สวมใส่

Posted on 07 มีนาคม 2024 by writer

Daimond 10

 “เพชร” อัญมณีล้ำค่า คุณค่าสูงส่ง ความหมายดี มีมูลค่าสูง หายาก และด้วยเพชรเป็นสิ่งหายากนี่เองจึงมีค่าและราคาแพง ดังนั้นใครก็ตามที่มีเพชรไว้ในครอบครอง ยังบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของชนชั้นสูง ความมั่งคง  มีฐานะและรสนิยมที่ดีของผู้ครอบครองอีกด้วย อีกทั้งเพชรยังมีความหมายดีๆ ส่งเสริมพลังบวก สร้างแรงบัลดาลใจให้กับผู้สวมใส่อีกด้วย  ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นมีเพชรแท้เพชรปลอมออกมาวางขายกันมากมาย  ในฐานะผู้บริโภคก็ต้องการที่จะได้เพชรแท้ น้ำงาม ไว้สวมใส่เสริมราศีให้ดูเลอค่า แต่ก็เกรงว่าจะได้เพชรปลอมไม่สมราคาที่จ่ายไป จะทำอย่างไรดี? วันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเพชรที่จะมาเผยเทคนิคการเลือกซื้อเพชร และวิธีการตรวจสอบเพชรง่ายๆ ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน ให้เราเข้าใจด้วยหลัก 4Cs ให้ได้เพชรแท้น้ำงาม มาฝากกัน….

นาย ชเนนทร์กันต์ จักรวาลวิบูลย์  Head of gems laboratory บริษัท เอ็นจีจี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด  “NGG JEWELLERY” อาณาจักรเครื่องประดับแท้จากธรรมชาติรวมศาสตร์และศิลป์แห่งเครื่องประดับทั้ง เพชร ทองคำ อัญมณี และนาฬิกา ที่ได้รับความไว้วางใจและอยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี  เผยเทคนิคการเลือกซื้อเพชร และการตรวจสอบให้ได้เพชรแท้น้ำงาม ว่า “เพชรถือว่าเป็นอัญมณีที่มีมูลค่าสูง มีความหายาก และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนบนโลกส่วนใหญ่รู้จักเพชร จากองค์ประกอบทางเคมีหลักที่แสนจะเรียบง่าย เพชรมีองค์ประกอบหลักเป็นธาตุ คาร์บอน ที่เกิดภายใต้แรงดันและความร้อนที่สูงจากใต้โลก การประเมินราคาของเพชรนั้นจึงใช้หลักง่ายๆ คือ  4Cs  คือ 1. Clarity(ความสะอาด) 2. Color (สี) 3. Cut (การเจียระไน) 4. Carat (น้ำหนัก)

Daimond 04-1_resize

  • Clarity (ความสะอาด) ความสะอาดในเพชรคืออะไร? หลายท่านอาจสงสัย เป็นที่ทราบกันดีว่าเพชรเป็นอัญมณีที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ จึงทำให้มีโอกาสที่จะมีแร่ชนิดอื่นเกิดขึ้นร่วมกัน หรือมีรอยแตกต่างๆ ซึ่งจะถูกเรียกว่า Inclusions เพชรที่มี Inclusions น้อยจะยิ่งมีความหายาก และราคาสูง การจัดระดับความสะอาดจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามระดับความสะอาด เช่น Flawless, internal flawless, VVS1, VS1 เป็นต้น ซึ่งชื่อเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงปริมาณ และตำแหน่งของ Inclusions ของเพชรเม็ดนั้นๆ การจัดระดับความสะอาดนั้น จำเป็นจะต้องใช้นักอัญมณีศาสตร์ที่มีความชำนาญในการจัดระดับ เพื่อให้ได้มาตรฐานจะใช้นักอัญมณีศาสตร์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปในการจัดระดับ และจะต้องให้เกรดตรงกัน สองในสาม จึงจะถือว่าเกรดนั้นถูกต้อง
  • Color (สี) การจัดระดับสีเพชร เป็นการจัดระดับสีของเพชรว่า เพชรมีสีใสไม่มีสี ถึงสีเหลืองมากน้อยเพียงใด เพชรที่มีเกรดดีที่สุดคือ สี D หรือ น้ำร้อย คือเป็นเพชรที่ใสไม่มีสีมากที่สุด การจัดระดับสีเพชร นักอัญมณีศาสตร์ จะนำเพชรสีมาตรฐานมาเปรียบเทียบกับเพชรที่ต้องการจัดระดับว่าตรงกับช่วงสีใด ภายใต้แสงไฟ และสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม เพื่อให้ได้สีที่ถูกต้อง จะถูกทำการจัดระดับเช่นเดียวกับการจัดระดับความสะอาด คือต้องให้นักอัญมณีศาสตร์ทำการจัดระดับสีเพชรให้ตรงกันอย่างน้อยสองในสามสี จึงจะถือว่าเกรดนั้นถูกต้อง
  • Cut (การเจียระไน) เหลี่ยมเจียระไนที่เป็นที่นิยมมากสำหรับเพชรนั้นคือการเจียระไนแบบ Brilliant cut หรือเหลี่ยมเกสร และรูปร่างที่เป็นที่นิยมคือรูปร่างกลม การเจียระไน คือการทำให้เพชรที่คุณค่ามากขึ้น ทำให้เพชรได้ส่องประกายได้อย่างสวยงาม การที่จะทำให้เพชรมีประกายสวยงามได้ จะต้องมีการเจียระไนที่มีสัดส่วน สมมุติ และการขัดเงาที่ถูกต้อง การจัดระดับการเจียระไน จะเป็นการวัดสัดส่วน องศา ของเหลี่ยมต่างๆ การใช้นักอัญมณีศาสตร์ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ จึงมีการใช้เครื่องมือวิเคราะห์หาสัดส่วน ตรวจสมมุติต่างๆของเพชร จากนั้นนักอัญมณีศาสตร์ จะมาตรวจดูความเรียบร้อยของการขัดเงา ซึ่งได้ผลการจัดระดับที่ถูกต้อง จะทำเช่นเดียวกับการจัดระดับของความสะอาด และสี
  • Carat(น้ำหนัก) คำว่า กะรัต มาจากเมล็ดพืชชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Carob เป็นพืชที่มีอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ในสมัยก่อนที่จะมีเครื่องชั่งที่เป็นมาตรฐาน เมล็ด Carob ถูกนำมาใช้แทนตุ้มน้ำหนักในการชั่งอัญมณี น้ำหนัก1กะรัตเท่ากับ 2 กรัม การซื้อขายเพชรนอกเหนือจากเรื่องคุณภาพความสะอาด และสี น้ำหนักถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อด้านราคาเช่นกัน เนื่องจากราคาของเพชรที่มีน้ำหนักมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้วจะมีราคาที่สูงกว่าเพชรที่มีน้ำหนักน้อย สมมุติว่าเพชรน้ำหนัก 1 กะรัต มีราคา สามแสนบาทต่อกะรัต เพชร 2 กะรัตที่มีคุณภาพเท่ากัน ราคาสี่แสนบาทต่อกะรัต เนื่องจากยิ่งเพชรที่มีน้ำหนักมาก ยิ่งหายาก ราคาต่อหน่วยจึงยิ่งสูง จึงทำให้หลายๆคนชอบเพชรที่มีน้ำหนัก 0.97 – 0.99 กะรัต เนื่องจากจะมีขนาดใกล้เคียงกับเพชรน้ำหนัก 1 กะรัต แต่ได้ราคาที่ถูก

Daimond 03_resize

นอกจากหลัก 4Cs แล้วสิ่งสำคัญอีกอย่างคือความเป็นธรรมชาติของเพชร หรือเป็นเพชรธรรมชาติ ไม่ใช่เพชรสังเคราะห์ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าเพชรคือ แร่ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์บอน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง เกิดภายใต้ความร้อนและแรงดันที่สูง

ส่วนเพชรปลอม หรือที่เราเรียกว่า เพชรสังเคราะห์ คือเพชรที่มีองค์ประกอบหลักคือธาตุคาร์บอนเช่นเดียวกับธรรมชาติ  แต่การเกิดมีมนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวทำให้เกิดเป็นผลึกขึ้นมา มีวิธีการสังเคราะห์หลักอยู่สองวิธี คือ HPHT และ CVD เพชรสังเคราะห์มีชื่อเรียกได้หลากหลายชื่อ เช่น เพชรHPHT, เพชร CVD, Synthetic diamond, Lab grown diamond, Laboratory grown diamond, Vegan diamond เพชรสังเคราะห์จะมีการเกิดที่ไม่เหมือนกับเพชรธรรมชาติ การแยกแยะเพชรธรรมชาติกับเพชรสังเคราะห์ออกจากกัน ไม่สามารถที่จะใช้ตาเปล่า หรือกล้องส่องกำลังขยาย 10 เท่าที่เรียกกันว่า ลูป แม้กระทั้งกล้องไมโครสโคปกำลังขยาย 45 – 60 เท่า ไม่สามารถที่จะเห็นความแตกต่างของเพชรธรรมชาติกับเพชรสังเคราะห์ ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ใช้ในการแยกแยะ ทั้งเครื่องมือขนาดเล็กที่มีผลบอกว่าเพชรเม็ดนี้ผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งเครื่องเหล่านั้นจะมีความแม่นยำของผลอยู่ที่ไม่เกิน 90% แต่เครื่องมือที่ทางห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี ของ “NGG JEWELLERY”  ใช้นั้นเป็นเครื่องมือเฉพาะเจาะจงในการดูลักษณะร่องรอยการเจริญเติบโตของผลึกเพชรที่จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนได้ผลการตรวจสอบ 100%  แต่การตรวจสอบนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะเพื่อดูถึงโครงสร้าง และจำเป็นที่จะต้องใช้นักอัญมณีศาสตร์ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะถึงจะสามารถแยะแยะได้ ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้ทางห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี ของ “NGG JEWELLERY”  ตรวจสอบเพชรทุกเม็ดทุกกะรัต  เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าเพชรทุกเม็ดได้ผ่านเครื่องมือ และนักอัญมณีศาสตร์ที่มีความชำนาญทุกเม็ด จึงทำให้เพชรของ NGG มีคุณภาพที่ตรง และทำให้ผู้ชื้อมั่นใจได้ล้านเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นเพชรธรรมชาติอย่างแน่นอน

เพียงนำเทคนิคง่ายๆไปลองใช้กัน ต่อไปเราก็ไม่ต้องกังวลแล้วว่าโดนหลอกให้ซื้อเพชรปลอม หรือจะให้แน่ใจ ก็เลือกซื้อจากร้านที่มีใบเซอร์ ฯ GIA เชื่อถือได้และมีห้องแล็บที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย ผสานเทคโนโลยีที่แม่นยำ และยิ่งมีนักอัญมณีศาสตร์ที่มีความชำนาญมาช่วยตรวจสอบทุกเม็ด พร้อมใบรับประกันคุณภาพ แค่นี้เราก็จะได้เพชรแท้ น้ำงาม มาสวมใส่ ได้อย่างเชิดฉาย….

ปิดความเห็น บน ผู้เชี่ยวชาญฯ เผยเทคนิคการเลือกซื้อเพชรและตรวจสอบง่ายๆ ด้วยหลัก 4Cs ได้เพชรแท้ น้ำงาม เสริมราศีผู้สวมใส่

ดีป้า เปิดหลักสูตร Digital CEO รุ่น 7 จัดเต็มเนื้อหาเข้มข้น อัดแน่นจากวิทยากรชั้นนำ

ดีป้า เปิดหลักสูตร Digital CEO รุ่น 7 จัดเต็มเนื้อหาเข้มข้น อัดแน่นจากวิทยากรชั้นนำ

Posted on 05 มีนาคม 2024 by writer

DSC_5243_resize

          ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประธานเปิดหลักสูตรคณะผู้บริหาร “ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 7” พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ “Thailand Digital Competitiveness” ให้กับคณะผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐและเอกชน 92 คน เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในมิติต่างๆ ให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและนำไปใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตอีกด้วยโดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ให้การต้อนรับ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม เอส 31 สุขุมวิท เมื่อเร็วๆนี้

          ทั้งนี้ มีวิทยากรชั้นนำที่ร่วมบรรยายมากมาย อาทิ ดร.นเรนทร์ ชุดิจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด บรรยาย “Future Digital Technology and Disruptive Innovation” ทางด้านคุณกำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม (DPAI) ถ่ายทอดความรู้ในการประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) ตามด้วย คุณวิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคตอาวุโส ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ฉายภาพอนาคตในหัวข้อ “Future of Thailand 2030 & Future of the World 2060” และปิดท้ายกับหัวข้อ “Fin Tech เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกกับอนาคตสังคมไทย” จาก คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate เป็นต้น

DSC_5215_resize

          พร้อมกันนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 7 เป็นผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐและเอกชน 92 คน อาทิ นายกริช วิโรจน์สายลี  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด  นายกสิณ ตันสุภสวัสดิกุล ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจอาวุโส  บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ร.ท.กิตติคุณ จารุวัฒนายนต์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นายกุลจักก์ พานิชพัฒน์ ผู้ช่วยรองประธานเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้  บริษัท ยิบอินซอย จำกัด นางสาวกุลธิดา กุลวิบูลย์อนันต์ กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด  ดร.คุณานันท์ สุขพาสน์เจริญ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นางจงกลนี แก้วสด รองผู้อำนวยการ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  นายจนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล  รองประธานอาวุโส บริษัท จีไอเอส จำกัด พ.อ.ฉลวย อ่อนคำ รองผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารบก  นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร  นายชนะพล อินทร์แสงทอง  ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาด  บริษัท แอดวานซ์ บิสซิเนส โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด นพ.ชวลิต วิมลเฉลา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลศรีสวรรค์ จำกัด นางสาวชัชฎา อภิชาสุทธากุล ประธานกรรมการ บริษัท บริษัท ทัชเทคโนโลยี จำกัด นายชัยภัทร เขมาภิรักษ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) นายชัยวัฒน์ พู่พิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ประเทศไทย  นายชาตรี ตระกูลมณีเนตร กรรมการบริษัทและหุ้นส่วนผู้จัดการ บริษัท สำนักงานกฎหมาย แคปปิตอล จำกัด  นายชานนท โตวิกกัย กรรมการบริหาร บริษัท ลอนดรี้บาร์ไทย จำกัด  นางชุลีรัตน์ วิมลเฉลา  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลศรีสวรรค์ กรุงเทพมหานคร นายไชยรัตน์ ถนอมวงษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ ด้านการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล  บริษัท สตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง จำกัด นางสาวญาดาภา ประเสริฐ  ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท เบย์ คอมพิวติ้ง จำกัด  นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  นายฐานนท์ เรืองวิวัฒนพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์ดรีม สปิริต จำกัด  พญ.ฐานิสร ธรรมลิขิตกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รมย์รวินท์ คลินิก จำกัด  นายณภัทร ภาณุพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)  นายณัฐกรณ์ รัตนชัยสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีดิกทิฟ จำกัด  นางณาตยา สุขุม  รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  นางสาวดลิน โสภณพนิช ยังพิชิต   กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวัสดีโสภณพิชิต จำกัด นายเดช ฐิติวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย นายทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คีย์โซลูชั่นเทรนนิ่ง จำกัด  นายทองคำ เกตุโชติ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายทินกร นาทองลาย  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)  นายธนนริศร์ พิสิทธิ์ธนโชติ  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินดิเคท โซลูชั่น จำกัด นางสาวธิดารัตน์ จันทร์ไทย  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ซีบร้า ทรานส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  นายธีระทัศน์ เกิดช่วย ผู้อำนวยการสำนักผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีอวกาศ  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)  ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  นางสาวนรี บุณยเกียรติ  ประธานกรรมการบริหาร และ หัวหน้าเชฟ บริษัท ไดน์ จำกัด  นางสาวนิตา ตรีวีรานุวัฒน์  กรรมการบริษัท บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด  นายนิพนธ์ นาชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลฟาเซค จำกัด  นางสาวบุษยา บุญมี  รองประธานอาวุโส – Digital Identity Business  บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด นายปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและกรรมการบริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  รศ.ดร.ประมา ศาสตระรุจิ  ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ   เพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.ปริญญา นาคปฐม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา  นายปวริศร์ เอี่ยมอ่ำ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ลาว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (มหาชน) จำกัด

DSC_5316_resize

นายปิติพันธุ์ ธนศรีวนิชชัย  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด  นางปิยวดี อนันตประกร  กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค พ้อยท์ จำกัด นางสาวพรรณพิลัย พิมพา หัวหน้าศูนย์ทรานส์ฟอร์เมชั่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  นายพลภัทร เตชกนกรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเน่เครนส์ แมททีเรียล แฮนด์ลิง (ประเทศไทย) จำกัด นางสาวพอพิชญ์ พงษ์พานิช Digital Advisor  บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  นางสาวพิชาวีร์ วรพัทธ์โภคิน  ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท แมนเดียนท์ ประเทศไทย  นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ นางเพลินพิศ ศรีภพ นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี นายไพฑูรย์ ไผ่ล้อม  ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเทคโนโลยีดิจิทัล การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่นายไพโรจน์ ต้นศิริอนุสรณ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคคอนส์บิส จำกัด นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  นายมานิตย์ จันสุทธิรางกูร กรรมการบริหาร บริษัท อิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์  ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ภญ.ยุวพร ศรีน้อย  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ องค์การเภสัชกรรม นายรณชัย กองบุญมา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด  ดร.รุ่งโรจน์ โชคงามวงศ์ ประธานสายงานเทคโนโลยี บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด  นายโรจน์ปิติ ธรรมชูเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.ลอจิคอล เรสโซลูชั่น จำกัด  นางสาวฤดินันท์ พยนต์รัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลิช ฟู้ดส์ จำกัด  ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  นางวิลาวัณย์ อติวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอนิแมกซ์ จำกัด ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงมหาดไทย  นางสาวศนิสา พลังตระกูล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์  รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริการ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  นายษณกร กี่สิ้น รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองป่าตอง นางสาวสมิตา ธนะโสภณ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ทรู อาย จำกัด  นายสรัญ ลิ้มสวัสดิ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท จำกัด  นายสร้างรัฐ  หัตถวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินสไปร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด  นายสันทวัฒน์ สินาเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอนีเพย์ จำกัด  นายสุเทพ ไชยรังศรี  ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ บริษัท โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ จำกัด นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) นางสาวสุภาพร นิภานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสื่อสารหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  นางสาวสุวรรณี สุวรรณแสงโรจน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ตาชำนิ จำกัด (มหาชน)  นายสุวิทย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายเสฏฐพัตณ์ ลักษณะศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอคอนเน็กท์ จำกัด นางอโณทัย บุญยะลีพรรณ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม.ที.อาร์.แอสเส็ท แมนเนเจอร์ จำกัด นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย นายอภิวัฒน์ เกรียงวัฒนากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลยุทธ์และการลงทุน บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) นายอรรถสิทธิ์ วิทยกิจพิพัฒน์ ผู้จัดการทัั่วไปฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและความยั่งยืน บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นางสาวอรอนงค์ แจ้งพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานบริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด นายอรุณเดช บานจิตร General Director & CEO,Lao Mobile Money Sole Co., Ltd.  สพ.ญ.อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีเจน สมาร์ท ซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด นางสาวอัญทิกา เจริญชัยกรณ์  กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินเทลชั่น จำกัด นายอำนวย นิรนาทกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นไอโอ แอคชีฟเวอร์ส จำกัด  นางสาวอุรภา สุทธิพงษ์ชัย  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ดร.อุษณีย์ มหากิจศิริ  ประธานกรรมการบริษัท บริษัท เคเอฟยู จำกัด

ปิดความเห็น บน ดีป้า เปิดหลักสูตร Digital CEO รุ่น 7 จัดเต็มเนื้อหาเข้มข้น อัดแน่นจากวิทยากรชั้นนำ

“นิวซีแลนด์” ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาตินิยมไปเรียนต่อเป็นอันดับต้นๆ ของโลก!

“นิวซีแลนด์” ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาตินิยมไปเรียนต่อเป็นอันดับต้นๆ ของโลก!

Posted on 27 กุมภาพันธ์ 2024 by writer

Manaaki scholars 15_resize

          ชื่อเสียงด้านการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งในหมู่นักเรียนต่างชาติ และสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียน ทั้งในแง่วิชาการและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยคุณภาพการศึกษาของนิวซีแลนด์มีมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับในอันดับต้นๆของโลก ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา อีกทั้งยังมีสถาบันติดอันดับโลก มหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งของ ติดอันดับท็อป 3% ของโลก นอกจากนี้นักศึกษาที่เรียนจบระดับปริญญาในนิวซีแลนด์ยังมีโอกาสได้รับ Post Study Work Visa (อนุญาตให้อยู่ทำงานในนิวซีแลนด์อย่างถูกกฎหมายนานสูงสุด 3 ปี) มีนักเรียนต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ ทำให้สังคมการศึกษาในนิวซีแลนด์มีความหลากหลายในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ วัฒนธรรม และดีต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน

          รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษานานาชาตินิวซีแลนด์ จากการสำรวจประสบการณ์ของนักเรียนต่างชาติที่ต่อการศึกษาในนิวซีแลนด์ ประจำปี 2566 จำนวน 4,755 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก พบว่า 84% นักเรียนต่างชาติให้คะแนนประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนต่อในนิวซีแลนด์ในเชิงบวกสูงถึง 83% และ 78% ยังบอกด้วยว่าพวกเขาจะแนะนำนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกในการมาศึกษาต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งนี้ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า ประเทศนิวซีแลนด์เป็นตัวเลือกแรกของจุดหมายปลายทางการศึกษาสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม 78% นอกจากนี้ 64% ของนักเรียนต่างชาติที่ตอบแบบสอบถาม ยังบอกว่าประสบการณ์การศึกษาต่อของพวกเขาในประเทศนิวซีแลนด์เป็นไปอย่างที่คาดคิด หรือเกินความคาดหมาย

          ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ENZ ก็ได้ทำการสำรวจประสบการณ์ของชาวนิวซีแลนด์ จำนวน 1,100 คน ที่มีต่อนักเรียนต่างชาติที่มาศึกษาต่อในนิวซีแลนด์เมื่อเดือนธันวาคม 2566 พบว่า 75% ของชาวนิวซีแลนด์ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเชื่อว่าการมีนักเรียนต่างชาติมาเรียนจะส่งผลดีกับประเทศนิวซีแลนด์ โดย 81% ของผู้ตอบแบสอบถามเผยว่า นักเรียนต่างชาติช่วยให้นักเรียนท้องถิ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอื่นๆ ที่แตกต่างจากตัวเอง และ 80% บอกว่า นักเรียนต่างชาติช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2559 ที่พบว่า มีคนท้องถิ่นเพียง 57% ที่เชื่อว่านักเรียนต่างชาติมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์

Library Image-classroom_resize

          นายเจฟฟ์ บิลโบรห์ (Geoff Bilbrough) ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ ENZ เปิดเผยว่า  “การศึกษาต่างประเทศของนิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่ายินดีที่นิวซีแลนด์ ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาติให้การยอมรับและสามารถได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันก็สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์และเพลิดเพลินกับกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงการใช้ชีวิตของนักเรียนต่างชาติได้เป็นอย่างดี”

          นอกจากนี้  นายเจฟฟ์ บิลโบรห์ ยังระบุด้วยว่า “นักเรียนต่างชาติมีส่วนสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจในประเทศนิวซีแลนด์มาโดยตลอด รวมทั้งภาครัฐยังส่งเสริมความตระหนักรู้และให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนต่างชาติกับนักเรียนท้องถิ่น รวมถึงการมีส่วนร่วมของชาวนิวซีแลนด์และชุมชนของเรากับนักเรียนต่างชาติเป็นอย่างดี”

          การศึกษานานาชาตินิวซีแลนด์ถือเป็นภาคบริการส่งออกรายใหญ่ของนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2019 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 79% ที่มาเรียนที่นิวซีแลนด์มาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียสูงถึง 89,862 คน รวมถึงนักเรียนไทยกว่า 3,000 คน โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูการศึกษานานาชาติ โดยมีการเชื่อมโยงพันธมิตรกับสถาบันต่างๆทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการมุ่งพัฒนารูปแบบการนำเสนอบทเรียนในรูปเเบบใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายและยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ดูได้ที www.studywithnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน “นิวซีแลนด์” ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาตินิยมไปเรียนต่อเป็นอันดับต้นๆ ของโลก!

DSC_4840_resize

ดีป้า เปิดบ้าน Thailand Digital Valley ปฐมนิเทศหลักสูตร #Digital CEO7 ต้อนรับ ผู้บริหาร “ดิจิทัล ซีอีโอ” พร้อมศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Posted on 27 กุมภาพันธ์ 2024 by writer

DSC_4840_resize

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า พร้อมด้วย คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ให้การต้อนรับ “ดิจิทัล ซีอีโอ” ผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 7 จำนวน 92 ท่าน ในกิจกรรมปฐมนิเทศหลักสูตรฯและศึกษาดูงาน พร้อมเปิดบ้าน “Thailand Digital Valley” ต้อนรับอย่างอบอุ่น ซึ่ง ดร.ศุภกร สิทธิไชย ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ดีป้า บรรยายหัวข้อ Thailand Digital Valley : ASEAN Hub of Advance Digital Technology and Innovation ซึ่งนำเสนอบทบาทและความคืบหน้าของ Thailand Digital Valley ในการเป็นระบบนิเวศน์ทางดิจิทัล มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

DSC_4557_resize

          พร้อมกันนี้ ยังได้เปิดโลกเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านประสบการณ์ตรงจาก คุณไชยวิวรรธน์ ชูวิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ็นเนอร์จี้ เรสปอนส์ จำกัด (Enres) ในการบรรยาย “กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วย IoT และ AI” ก่อนที่จะนำคณะผู้บริหารไปไปสัมผัสประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในมิติต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมศึกษาดูงาน ทั้ง Space Inspirium แหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทย และคูโบต้า ฟาร์ม เพื่อสร้างประสบการณ์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ โดยมีคุณรัชกฤต สงวนชีวิน ผู้จัดการฝ่าย Business Value Creation บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมให้การต้อนรับและนำคณะเยี่ยมชมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการเกษตรครบวงจร  ณ จ.ชลบุรีเมื่อเร็วๆนี้

พร้อมกันนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่นที่ 7 เป็นผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐและเอกชน 92 คน อาทิ นายกริช วิโรจน์สายลี  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด  นายกสิณ ตันสุภสวัสดิกุล ผู้จัดการส่วนพัฒนาธุรกิจอาวุโส  บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ร.ท.กิตติคุณ จารุวัฒนายนต์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นายกุลจักก์พานิชพัฒน์ ผู้ช่วยรองประธานเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้  บริษัท ยิบอินซอย จำกัด นางสาวกุลธิดา กุลวิบูลย์อนันต์ กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด  ดร.คุณานันท์ สุขพาสน์เจริญรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นางจงกลนี แก้วสด รองผู้อำนวยการ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  นายจนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล  รองประธานอาวุโส บริษัท จีไอเอส จำกัด พ.อ.ฉลวย อ่อนคำ รองผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารบก  นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร  นายชนะพล อินทร์แสงทอง  ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาด  บริษัท แอดวานซ์ บิสซิเนส โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด นพ.ชวลิต วิมลเฉลา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลศรีสวรรค์ จำกัด นางสาวชัชฎา อภิชาสุทธากุล ประธานกรรมการ บริษัท บริษัท ทัชเทคโนโลยี จำกัด นายชัยภัทร เขมาภิรักษ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) นายชัยวัฒน์ พู่พิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ประเทศไทย  นายชาตรี ตระกูลมณีเนตร กรรมการบริษัทและหุ้นส่วนผู้จัดการ บริษัท สำนักงานกฎหมาย แคปปิตอล จำกัด  นายชานนท โตวิกกัย กรรมการบริหาร บริษัท ลอนดรี้บาร์ไทย จำกัด  นางชุลีรัตน์ วิมลเฉลา  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลศรีสวรรค์ กรุงเทพมหานคร นายไชยรัตน์ ถนอมวงษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ ด้านการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล  บริษัท สตรีม ไอ.ที. คอนซัลติ้ง จำกัด นางสาวญาดาภา ประเสริฐ  ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท เบย์ คอมพิวติ้ง จำกัด  นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  นายฐานนท์ เรืองวิวัฒนพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซ์ดรีม สปิริต จำกัด  พญ.ฐานิสร ธรรมลิขิตกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รมย์รวินท์ คลินิก จำกัด  นายณภัทร ภาณุพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)  นายณัฐกรณ์ รัตนชัยสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีดิกทิฟ จำกัด  นางณาตยา สุขุม  รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  นางสาวดลิน โสภณพนิช ยังพิชิต   กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวัสดีโสภณพิชิต จำกัด นายเดช ฐิติวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย นายทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คีย์โซลูชั่นเทรนนิ่ง จำกัด  นายทองคำ เกตุโชติ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายทินกร นาทองลาย  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)  นายธนนริศร์ พิสิทธิ์ธนโชติ  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินดิเคท โซลูชั่น จำกัด นางสาวธิดารัตน์ จันทร์ไทย  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ซีบร้า ทรานส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  นายธีระทัศน์ เกิดช่วย ผู้อำนวยการสำนักผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีอวกาศ  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)  ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  นางสาวนรี บุณยเกียรติ  ประธานกรรมการบริหาร และ หัวหน้าเชฟ บริษัท ไดน์ จำกัด  นางสาวนิตา ตรีวีรานุวัฒน์  กรรมการบริษัท บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด  นายนิพนธ์ นาชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัลฟาเซค จำกัด  นางสาวบุษยา บุญมี  รองประธานอาวุโส – Digital Identity Business  บริษัท คอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด นายปกรณ์ เจียมสกุลทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและกรรมการบริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  รศ.ดร.ประมา ศาสตระรุจิ  ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ   เพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.ปริญญา นาคปฐม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา  นายปวริศร์ เอี่ยมอ่ำ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ลาว เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (มหาชน) จำกัด  นายปิติพันธุ์ ธนศรีวนิชชัย  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด  นางปิยวดี อนันตประกร  กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค พ้อยท์ จำกัด

DSC_4899

นางสาวพรรณพิลัย พิมพา หัวหน้าศูนย์ทรานส์ฟอร์เมชั่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  นายพลภัทร เตชกนกรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเน่เครนส์ แมททีเรียล แฮนด์ลิง (ประเทศไทย) จำกัด นางสาวพอพิชญ์ พงษ์พานิช Digital Advisor  บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  นางสาวพิชาวีร์ วรพัทธ์โภคิน  ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท แมนเดียนท์ ประเทศไทย  นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ นางเพลินพิศ ศรีภพ นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี นายไพฑูรย์ ไผ่ล้อม  ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเทคโนโลยีดิจิทัล การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่นายไพโรจน์ ต้นศิริอนุสรณ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคคอนส์บิส จำกัด นายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  นายมานิตย์ จันสุทธิรางกูร กรรมการบริหาร บริษัท อิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด นายเมธาวัจน์ พงศ์รดาภิรมย์  ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ภญ.ยุวพร ศรีน้อย  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ องค์การเภสัชกรรม นายรณชัย กองบุญมา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด  ดร.รุ่งโรจน์ โชคงามวงศ์ ประธานสายงานเทคโนโลยี บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด  นายโรจน์ปิติ ธรรมชูเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.ลอจิคอล เรสโซลูชั่น จำกัด  นางสาวฤดินันท์ พยนต์รัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลิช ฟู้ดส์ จำกัด  ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล  นางวิลาวัณย์ อติวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอนิแมกซ์ จำกัด ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงมหาดไทย  นางสาวศนิสา พลังตระกูล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม ผู้ช่วยรองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์  รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริการ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  นายษณกร กี่สิ้น รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองป่าตอง นางสาวสมิตา ธนะโสภณ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ทรู อาย จำกัด  นายสรัญ ลิ้มสวัสดิ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท จำกัด  นายสร้างรัฐ  หัตถวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินสไปร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด  นายสันทวัฒน์ สินาเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอนีเพย์ จำกัด  นายสุเทพ ไชยรังศรี  ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ บริษัท โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ จำกัด นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) นางสาวสุภาพร นิภานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายสื่อสารหลักประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  นางสาวสุวรรณี สุวรรณแสงโรจน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ตาชำนิ จำกัด (มหาชน)  นายสุวิทย์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นายเสฏฐพัตณ์ ลักษณะศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอคอนเน็กท์ จำกัด นางอโณทัย บุญยะลีพรรณ กรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม.ที.อาร์.แอสเส็ท แมนเนเจอร์ จำกัด นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย นายอภิวัฒน์ เกรียงวัฒนากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกลยุทธ์และการลงทุน บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) นายอรรถสิทธิ์ วิทยกิจพิพัฒน์ ผู้จัดการทัั่วไปฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและความยั่งยืน บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นางสาวอรอนงค์ แจ้งพงศ์พันธ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานบริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด นายอรุณเดช บานจิตร General Director & CEO,Lao Mobile Money Sole Co., Ltd.  สพ.ญ.อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีเจน สมาร์ท ซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด นางสาวอัญทิกา เจริญชัยกรณ์  กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินเทลชั่น จำกัด นายอำนวย นิรนาทกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นไอโอ แอคชีฟเวอร์ส จำกัด  นางสาวอุรภา สุทธิพงษ์ชัย  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด ดร.อุษณีย์ มหากิจศิริ  ประธานกรรมการบริษัท บริษัท เคเอฟยู จำกัด

ปิดความเห็น บน ดีป้า เปิดบ้าน Thailand Digital Valley ปฐมนิเทศหลักสูตร #Digital CEO7 ต้อนรับ ผู้บริหาร “ดิจิทัล ซีอีโอ” พร้อมศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เปิดรับสมัครแล้วทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์เต็มจำนวน เรียนฟรีระดับอนุปริญญาโท/ป.โท/ป.เอก ประจำปี 2024

เปิดรับสมัครแล้วทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์เต็มจำนวน เรียนฟรีระดับอนุปริญญาโท/ป.โท/ป.เอก ประจำปี 2024

Posted on 20 กุมภาพันธ์ 2024 by writer

Manaaki scholars 29_resize

          ข่าวดี!สำหรับนักเรียนไทยที่กำลังมองหาทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อและเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ในต่างประเทศ

          รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) แจ้งว่า รัฐบาลนิวซีแลนด์มอบทุนการศึกษา Manaaki New Zealand Scholarships 2024 ทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์แบบเต็มจำนวนให้แก่นักเรียนไทย โดยในปีนี้ทางโครงการมอบทุนให้นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในระดับอนุปริญญาโท ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษาสนับสนุนเต็มจำนวน ซึ่งครอบคลุมทั้งค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ ค่าย้ายถิ่นฐาน ประกันสุขภาพ และอื่นๆ

          Manaaki New Zealand Scholarships เป็นโครงการทุนการศึกษาโดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ มอบให้นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการเข้ามาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศนิวซีแลนด์ โดยจุดมุ่งหมายให้ผู้รับทุนการศึกษา นำทักษะความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้กับประเทศบ้านเกิด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีหลังเรียนจบ โดยผู้ที่ได้รับทุนจะได้เข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่ง ใน 11 แห่งของสถาบันการศึกษาชั้นนำของนิวซีแลนด์ในปีการศึกษา 2025 สำหรับสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดขอรับทุนได้   อาทิ

Manaaki scholars group photo_resize

          – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change and the Environment)

          – การจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management)

          – ความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตร (Food Security and Agriculture)

          – พลังงานทดแทน (Renewable Energy)

          – ธรรมาภิบาล (Governance)

          – ธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance)

          – วิศวกรรมโยธา (Civil engineering )

          – ธุรกิจการเกษตร (Agribusiness)

          – วิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural science)

          – เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural technology)

          – เทคโนโลยีการอาหาร (Food technology)

          และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจสมัครและต้องการพัฒนาทักษะความสามารถในด้านสาขาความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตร (Food Security and Agriculture) ธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) และ พลังงานทดแทน (Renewable Energy) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

          กำหนดเปิดรับสมัครแล้วไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 นี้ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและตรวจสอบคุณสมบัติการสมัครได้ที่ www.nzscholarships.govt.nz

ปิดความเห็น บน เปิดรับสมัครแล้วทุนรัฐบาลนิวซีแลนด์เต็มจำนวน เรียนฟรีระดับอนุปริญญาโท/ป.โท/ป.เอก ประจำปี 2024

depa เปิดรับสมัครหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 4 (SCL#4) ร่วมพัฒนาผู้บริหารภาครัฐ-เอกชน ต่อยอดสร้างเมืองอัจฉริยะ

depa เปิดรับสมัครหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 4 (SCL#4) ร่วมพัฒนาผู้บริหารภาครัฐ-เอกชน ต่อยอดสร้างเมืองอัจฉริยะ

Posted on 20 กุมภาพันธ์ 2024 by writer

Print

               เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4 โดยเนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมแนวทางการสร้างโครงการเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกมิติทั้งบริบทภาครัฐและเอกชน รวมถึงการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ผู้นำเมืองควรรู้ นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 20 คน พร้อมการถอดแบบการเรียนรู้จากองค์กรในประเทศ เปิดรับสมัครแล้วถึง 19 เมษายน นี้ ดูรายละเอียดได้ทาง https://www.depa.or.th/th/article-view/4-smart-city-leadership-program-4-scl-4

               ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า เมืองอัจฉริยะเป็นแผนของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและดีป้าเป็นเลขาฯในการขับเคลื่อน และมีเป้าหมายเป็นการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมที่เริ่มจากเมือง นั่นหมายถึงว่าพื้นที่เมืองใดๆในประเทศสามารถจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ หรืออย่างน้อยเป็นเมืองที่ฉลาดในการเลือกใช้เทคโนโลยีมาตอบโจทย์และสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนในเมืองได้

              สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จึงได้เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) เป็นรุ่นที่ 4 เพื่อเดินหน้ายกระดับศักยภาพผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ-เอกชน เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ เนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมแนวทาง หลักเกณฑ์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ประเทศไทย การจัดทำแผนเมืองอัจฉริยะด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ ความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนาเมือง การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้จากเมืองอัจฉริยะที่ทำได้จริง ที่ผ่านมามีผู้จบการศึกษาสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 1-3 จำนวนกว่า 150 คน

ดร.ภาสกร ประถมบุตร_resize

              สำหรับหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4 เปิดอบรมระหว่างวันที่ 7-21 พฤษภาคม 2567 สัปดาห์ละ 2-3 วัน รวม 42 ชั่วโมง โดยผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 20 ราย เช่น ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa คุณภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ดร.กณพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม KMITL คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น เป็นต้น รวมถึงการดูงานถอดแบบการเรียนรู้จากองค์กรในประเทศ อาทิ Huawei Thailand, ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ., ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน, ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center (KIDC)

              ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรฯ รุ่นที่ 4 ได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรฯ และดาวน์โหลดใบสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ทาง https://bitly.ws/3943X ค่าลงทะเบียนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้สูงสุด 250% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และส่งใบสมัครได้ที่ Email: depasclp@gmail.com หรือ โทร 083 116 6581

ปิดความเห็น บน depa เปิดรับสมัครหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 4 (SCL#4) ร่วมพัฒนาผู้บริหารภาครัฐ-เอกชน ต่อยอดสร้างเมืองอัจฉริยะ

ธันวาคม 2024
พฤ อา
« พ.ย.    
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  

RELATED SITES