Archive | มกราคม, 2022

คณะดิจิทัล ซีอีโอ รุ่น 4 ดูงานเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอิสเทิร์น

คณะดิจิทัล ซีอีโอ รุ่น 4 ดูงานเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอิสเทิร์น

Posted on 27 มกราคม 2022 by writer

DSC_0280-1_2_resize

          นายเฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทไทยอิสเทิร์น ต้อนรับคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรม หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 4 อาทิ นายชยันต์ ศิริมาศ นายอดิศร อนันอนุสิทธิ์  นพ.มานัส โพธาภรณ์ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ นายณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ นายชาตรี เวทสรณสุธี  ดร.ดี จันทร์ศุภฤกษ์ นางสาวกรรธิมา สาลิกา ดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ดร.ฐัช หัชลีฬหา รศ.นพ.ณัฐพล ธรรมโชติ ดร.ธนธรรศ สนธีระ นายนิมิต สุขประเสริฐ  นางพรทิพย์ ถาวงค์ นางสาวแพร พันธุมวนิช นายระวี พัวพรพงษ์ นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร นายศัจธร วัฒนะมงคล นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ นายสมศักดิ์ วรวิจักษณ์ นายสราวุธ เอี่ยมสงคราม นายสุทธิพงษ์ เฉลิมเกียรติ นายอภิสิทธิ์ สุขสาคร พลตรี นพ.โชคชัย ขวัญพิชิต นายปกรณ์ ลี้สกุล ดร.วิโรจน์ บัวคลี่ นายวีระศักดิ์ กุลชัยพานิช ดร.อายุศรี คำบันลือ เป็นต้น  เพื่อศึกษาดูงานเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอีสเทิร์นได้เป็น  Bio-Circular Green Complex แห่งแรกของเอเชีย โดยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงนิเวศแบบครบวงจรที่ใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตฯ  ซึ่งมี 5 กลุ่มธุรกิจคือ  ธุรกิจยางพารา ธุรกิจปาล์มน้ำมัน ธุรกิจพลังงานทดแทน-รับบริหารจัดการกากอินทรีย์  ธุรกิจโลจิสติกส์  และธุรกิจร่วมทุน ทั้งนี้คณะผู้บริหารได้ให้ความสนใจอย่างมากที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร ณ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอิสเทิร์น  ชลบุรี  เมื่อเร็วๆนี้

DSC_0280-1_3

          ทั้งนี้ บริษัทฯมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์แบบครบวงจร จึงได้ออกแบบระบบอุตสาหกรรมให้อยู่บนหลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถสร้างขึ้นมาเอง (Circular Economy) มีการแลกเปลี่ยนด้านพลังงาน วัตถุดิบและวัสดุต่างๆอย่างเหมาะสม (Sharing Economy) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำมาสู่อุตสาหกรรมที่ปราศจากของเสียและปราศจากการก่อให้เกิดมลพิษตลอดทั้งกระบวนการ  เพื่อความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบห่วงโซ่คุณค่าทั้ง เกษตรกร ชุมชน พนักงาน คู่ค้า  จึงทำให้เกิดความร่วมมือกันและก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าที่มีความยั่งยืน (World Best Sustainable Materials Producer)

ปิดความเห็น บน คณะดิจิทัล ซีอีโอ รุ่น 4 ดูงานเขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยอิสเทิร์น

“ดีป้า” เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรฯ รุ่นที่ 3

“ดีป้า” เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรฯ รุ่นที่ 3

Posted on 26 มกราคม 2022 by writer

1_resize

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เปิดอบรม “หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม”  (Chief of Digital Agro Business : CDA รุ่นที่3 ) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากทั้ง 2 ปี ที่ผ่านมาได้รับความสนใจและมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้การตอบรับเข้าร่วมการอบรมรวม 110 คน โดยปีนี้มีผู้บริหารที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 33  คน เพื่อเสริมศักยภาพผู้บริหารภาครัฐและเอกชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมต่อไป

          เมื่อเร็วๆนี้  ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) เป็นประธานเปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมรุ่นที่ 3 (Chief of Digital Agro Business: CDA#3) พร้อมบรรยายพิเศษ “Smart City for Smart Agriculture with New Normal” ให้กับคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมฯ เพื่อเสริมสร้างทักษะ องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กร สังคม และประเทศ  ณ รร.โนโวเทล สุขุมวิท 20

6_resize

          ทั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการเกษตรจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาดและการขาย ทำให้เกษตรกรและคนทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งเสริมให้ประเทศไทยคงความเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรและเกษตรแปรรูปสำคัญของโลก พร้อมก้าวข้ามผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รองรับยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในอนาคต

          นอกจากนี้ สำนักงานฯได้ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3  จำนวน 33 คน ประกอบด้วยข้าราชการภาครัฐ จำนวน 9 คน วิสาหกิจและองค์กรมหาชน จำนวน 2 คน ภาคเอกชน 22 คน

9_resize

รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรฯ รุ่นที่ 3

ข้าราชการภาครัฐ จำนวน 9 คน ดังนี้

  1. นายจุมพฎ วรรณฉัตรสิริ
    รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
  2. นางสาวนงลักษณ์  วัชระเกียรติพงษ์
    เลขานุการ รองประธาน กสทช.   สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
  3. ดร.นภาพร มณฑานพรัตน์
    รักษาการผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และแผนสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
  4. นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์
    ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานพัฒนางานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สวก.
  5. นายพร้อมพงษ์ วงศ์มณีนิล
    ผู้อำนวยการฝ่าย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 1 (เชียงใหม่)
  6. นางศศิญา ปานตั้น
    เลขานุการกรม   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  7. นางสาวศศิธร พำนัก
    หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ  สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
  8. ดร.สิทธิเดช ร้อยกรอง
    นักวิจัยระดับ 5  สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
  9. นายอดิเรก อินต๊ะฟองคำ
    นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา ระดับ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

วิสาหกิจและองค์กรมหาชน จำนวน 2 คน ดังนี้

  1. นายสมชาย คมพงษ์ปภา
    รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  2. นายสาโรช กิจประเสริฐ
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพระนครใต้-2  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

5_resize

ผู้บริหารภาคเอกชน จำนวน  22 คน ดังนี้

  1. นายกรินทร์ นนทปัทมะดุลย์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครอป อะกริเทค จำกัด
  2. นางสาวกษิญา จรัญวงศ์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลาหาร จำกัด
  3. นางสาวเกศนรี จองโชติศิริกุล
    รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด/ควบคุมคุณภาพ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)
  4. นายคชินทร์ คล้ายนิล
    รองประธานกรรมการฝ่ายขาย บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด
  5. ดร.จรวยพรภัทร ลีสมสิริ
    ประธานกรรมการบริหารบริษัท คูโบต้าอนันตภัณฑ์นครราชสีมา จำกัด
  6. นายจิรพิพัฒน์ วรพิพัฒน์
    รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด
  7. นายชวรินทร์ ลิ่มวิไลกุล
    กรรมการผู้จัดการ   บริษัท ลิ้ม สุขใจ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
  8. ดร.ชวลิต นิ่มละออ
    ประธานกรรมการบริหาร บริษัทโอเรียนตอลการ์เมนท์ จำกัด
  9. นายชวลิต หวังธำรง
    ที่ปรึกษา บริษัทผลธัญญะ จำกัด(มหาชน)
  10. นายดุสิต เต็งไตรรัตน์
    กรรมการผู้จัดการ ส.เต็งไตรรัตน์(น่าน) จำกัด
  11. นายถาวร เผด็จสุวันนุกูล
    กรรมการผู้จัดการ นายฮั่งอินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด
  12. นายทวีพงศ์ สุธรรมพันธุ์
    ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พาวเวอร์ อโกรเทค (ประเทศไทย) จำกัด
  13. นายธนกร พันธ์นรา
    จ้าของกิจการบริษัท ธนไรซ์ อกริเทรด จำกัด
  14. นางสาวนันทภรณ์ อังศุกุลธร
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกษตรอินโน จำกัด (บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด)
  15. นางสาวประภาพรรณ เวลเซอร์
    กรรมการบริหาร บริษัท เพาเวอร์เทค เอนจิน แอสแซมบลี จำกัด
  16. นางพรรณา ปัญจวีณิน
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิทธินันท์ จำกัด
  17. นายภานุมาส แสนทวี
    ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด
  18. นาย วิชญ์ วงศ์หาญเชาว์
    พัฒนาธุรกิจ-นวัตกรรมดิจิทัล  บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
  19. นายวิภู รักษ์นภาพงศ์
    ผู้จัดการส่วนอาวุโส–บริการหลังการขายในประเทศ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  20. นายวิวรรธน์ เทียนศิริ
    รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจสัตว์น้ำ  บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
  21. นายศิวโรจน์ เสาวมล
    หัวหน้าสำนักเทคโนโลยีการเกษตรกลุ่มบริษัทสหวิริยสตีลอินดัสตรี จำกัด
  22. นายเอกชัย ตั้งรัตนาวลี
    เลขานุการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออริจิน / เครือเจริญโภคภัณฑ์

ปิดความเห็น บน “ดีป้า” เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรฯ รุ่นที่ 3

แนวทางส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing-ness) ผ่านระบบการศึกษาโลกดิจิทัลในยุคโควิด

แนวทางส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing-ness) ผ่านระบบการศึกษาโลกดิจิทัลในยุคโควิด

Posted on 26 มกราคม 2022 by writer

0013_Studyinnewzealand_ThinkNEW_resize

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID –19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาทั้งการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ประชาชนจากทั่วทุกประเทศมีมีรายได้น้อยลง จนส่งผลคุณภาพชีวิตที่ต่ำลงด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการพัฒนามนุษย์ในภาพกว้าง คือ การมุ่งสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing – ness) นอกจากจะสัมพันธ์โดยตรงกับเศรษฐกิจแล้ว ยังสัมพันธ์กันกับความสามารถและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย กล่าวคือ ความเป็นอยู่ที่ดีของแต่ละคนสามารถเกิดขึ้นได้จากการมีความรู้สึกทางจิตใจที่ดี และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันที่ดี ซึ่งคุณครู เพื่อน โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนต่างก็มีส่วนประกอบสร้างและเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดว่าผู้เรียนแต่ละคนจะมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายภาพ การใช้ชีวิต และสุขภาพจิตที่ดีหรือไม่ ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียน และสอดผสานความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing-ness) ให้แก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล

          ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น ด็อปสัน (Prof. Stephen Dobson) จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย (Victoria University of Wellington) ประเทศนิวซีแลนด์ บรรยายในงาน EDUCA หัวข้อเรื่อง “Learning and Assessing Wellbeing-ness in an Age of Global Educational Change Workshop” ได้อธิบายถึงแก่นสำคัญของการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี คือ การสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม อันประกอบไปด้วย

Prof. Stephen Dobson_resize

  • การรู้จักตนเอง (Self – awareness) คือ การรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ของตนเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี และสามารถประเมินได้ว่า สิ่งใดคือจุดแข็งของตนเอง และสิ่งใดคือข้อจำกัดทางอารมณ์ของตนเอง
  • การจัดการตนเอง (Self – management) คือ ความสามารถในด้านการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะการไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ก็สามารถทำให้เราล้มเหลวในสิ่งที่ต้องการในทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องการเรียน
  • การรู้จักสังคม (Social – awareness) คือ การที่ผู้เรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่งสามารถรู้สึกและแสดงออกถึงความเข้าใจและเห็นใจต่อผู้อื่นในสังคม
  • การตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible decision – making skills) คือ การสร้างหลักการทางจริยธรรม หรือสร้างตัวเลือกในการตัดสินใจด้วยดุลยพินิจตนเอง ทั้งในเรื่องส่วนบุคคลและปรากฏการณ์ทางสังคม โดยคำนึงถึงผลที่ตามมา และมีความรับผิดชอบ
  • ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship Skills) คือการรู้จัก ปรับตัว และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นรอบ ๆ ตัว รวมถึงมีความสามารถในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น มีความสามัคคี และสามารถรับมือกับความขัดแย้งได้อย่างฉลาด

          ศาสตราจารย์ สตีเฟ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า ครูสามารถนำทักษะทางสังคมข้างต้นนี้ไปใช้สอนได้ด้วยการเริ่มจากตัวเองที่ให้ความสำคัญกับการเป็นอยู่ของผู้เรียน โดยเริ่มตั้งแต่การจดจำชื่อของนักเรียนให้ได้ หมั่นถามความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนเสมอ นอกจากนั้นยังสามารถใช้การตั้งคำถาม เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด พูดแสดงความรู้สึก เหตุผล วิเคราะห์คำตอบ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และรู้เท่าทันความคิดความรู้สึกตัวเองในทุกๆ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ ส่วนการทดสอบว่าผู้เรียนมี “ความเป็นอยู่ที่ดี” หรือไม่นั้น สามารถวัดและประเมินผลได้จากทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกและการแสดงพฤติกรรมที่ครูสามารถสังเกตได้ เช่น ปริมาณการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียน (bullying) ที่ลดลง รวมถึงผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข พอใจในการดำรงชีวิต มีโภชนาการที่ดี ฯลฯ

073_Studyinnewzealand_Schools_resize

          “อย่างไรก็ตาม การวัดและประเมินผลดังกล่าวในช่วงการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากการเว้นระยะห่างทางสังคม และการเรียนผ่านเทคโนโลยีที่เป็นสื่อกลาง  ดังนั้นครูอาจจะให้นักเรียนทำกิจกรรมและส่งงานสะท้อนตัวตน พร้อมอธิบายว่าตนเองเป็นใครผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นักเรียนชอบอย่าง TikTok  อีกทั้งยังต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสพูดคุยกับครอบครัว หรือใส่ใจกับธรรมชาติรอบตัวเพิ่มขึ้น” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะทางสังคมและอารมณ์นี้ไปใช้พัฒนาตนเอง ตลอดจนปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของชีวิตตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ไม่ว่าชีวิตจะเผชิญกับสถานการณ์ท้าทายอะไรก็ตาม” ศาสตราจารย์ สตีเฟ่นให้คำแนะนำ

          ประเทศนิวซีแลนด์ ถือเป็นหนึ่งประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญและมียุทธศาสตร์ความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing – ness) ของเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน  นางสาวช่อทิพย์ ประมูลผล  ผู้อำนวยการ ประจำประเทศไทย หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า การศึกษามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กและเยาวชน การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ บริการด้านสุขภาพและสังคม ที่อยู่อาศัยและอาหาร ตลอดจนความรู้สึกเป็นที่รัก ปลอดภัย และมั่นคงภายในครอบครัวและชุมชนของเด็ก ล้วนมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กและเยาวชนทุกคน

ช่อทิพย์ ประมูลผล-2_resize

          ทั้งนี้ ประเทศนิวซีแลนด์ มียุทธศาสตร์ความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing – ness) ของเด็กและเยาวชนอย่างชัดเจน โดยกำหนดความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญสำหรับสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน พร้อมให้กรอบการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวและแนวทางในการปรับความพยายามของรัฐบาลให้สอดคล้องกัน เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานของประเทศ ได้ตั้งวิสัยทัศน์โดยมีเป้าหมายให้นิวซีแลนด์เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับเด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นไปที่เด็กนิวซีแลนด์ทุกคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ให้มีผลลัพธ์ความเป็นอยู่ที่ดี 6 ประการ ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กและคนหนุ่มสาวต้องการอะไรสำหรับชีวิตที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีมีความหมายต่อเด็กและเยาวชน  อันประกอบด้วย 1.เด็กและเยาวชนได้รับการเลี้ยงดูอย่างปลอดภัย 2.เด็กและเยาวชนมีสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต 3.เด็กและเยาวชนมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรง 4.เด็กและเยาวชนได้รับเรียนรู้และพัฒนา 5.เด็กและเยาวชนเป็นที่ยอมรับ เคารพ และเห็นคุณค่าในบ้าน โรงเรียน และชุมชน รวมถึงชุมชนในโลกออนไลน์ และ 6. เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมที่บ้าน โรงเรียนและในชุมชนของเขา

ปิดความเห็น บน แนวทางส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing-ness) ผ่านระบบการศึกษาโลกดิจิทัลในยุคโควิด

รพ.เวชธานี รับคณะผู้บริหาร CEO#4 ศึกษาดูงาน-ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

รพ.เวชธานี รับคณะผู้บริหาร CEO#4 ศึกษาดูงาน-ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

Posted on 19 มกราคม 2022 by writer

DSC_8800-1_resize

          ดร.ชาคริต ศึกษากิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา ผู้อำนวยการปฏิบัติการ โรงพยาบาลเวชธานี  ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 4 กว่า 80 คน อาทิ พลตรี นพ.โชคชัย ขวัญพิชิต นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู ดร.วิโรจน์ บัวคลี่ นายศัจธร วัฒนะมงคล นางรังสิมา ประดิษฐพงษ์ นางสาวอัญชลี จรัสยศวุฒิชัย ดร.ชัยวุฒิ ดลิศวนสิริวรรณ  ดร.ฐัช หัชลีฬหา นายกรัณย์พล อัศวสุวรรณ  นายนิมิต สุขประเสริฐ นางพรทิพย์ ถาวงศ์ นายพิษณุ วงศ์นิรันดร์ นายวีระศักดิ์ กุลชัยพานิช นายสราวุธ เอี่ยมสงคราม  นางสาวอัญชลี  จรัสยศวุฒิชัย นพ.อนุแสง จิตสมเกษม  ดร.ศุภกร สิทธิไชย นายอุดร คงคาเขตร เป็นต้น เพื่อศึกษาดูงาน “Vejthani Digital  Transformation” และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในรพ. อาทิ Digital Transformation of Patient Logistics , AI Powered Radiology Workflow , Robotic Assisted Human Movement Rehabilitation เป็นต้น ซึ่งคณะผู้บริหารต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  ณ โรงพยาบาลเวชธานี ถนนลาดพร้าว เมื่อเร็วๆนี้

DSC_8800-6_resize

          ทั้งนี้ การประยุกต์ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในรพ. อาทิ 1.) Digital Transformation of Patient Logistics เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้จุดรับ-ส่งผู้ป่วยเพื่อเรียกรถวีลแชร์  เลือกคนมาให้บริการผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ และสามารถดูว่าขณะนี้รถวีลแชร์ที่เรียกมารับถึงจุดใด-ใช้เวลากี่นาทีจะมาถึง 2.) AI Powered Radiology Workflow เป็นการนำเครื่อง MRI ระบบ AI มาใช้ในศูนย์ตรวจสุขภาพ เช่น สแกนหัวใจ สมอง ฯลฯ ได้อย่างแม่นยำ  รวมถึงสแกนจุดบกพรองต่างๆของร่างกายพร้อมเก็บข้อมูลเพื่อทำการวินิจฉัยโรคในการรักษาให้ตรงเป้าและมีประสิทธิภาพสูงสุด 3.) Robotic Assisted Human Movement Rehabilitation เป็นการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในการรักษา การกายภาพบำบัด โดยมีโรบอตช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพในการรักษา – บำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น

DSC_8800-2_resize

ปิดความเห็น บน รพ.เวชธานี รับคณะผู้บริหาร CEO#4 ศึกษาดูงาน-ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

การศึกษานิวซีแลนด์มอบทุนพัฒนาภาษาอังกฤษ IELTS สร้างโอกาสนักเรียนไทยเข้าคณะที่ชอบเดินตามฝันได้ง่ายขึ้น

การศึกษานิวซีแลนด์มอบทุนพัฒนาภาษาอังกฤษ IELTS สร้างโอกาสนักเรียนไทยเข้าคณะที่ชอบเดินตามฝันได้ง่ายขึ้น

Posted on 14 มกราคม 2022 by writer

2022-01-08_10-10-29-Ok_resize

          การศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) เตรียมพร้อมเปิดประเทศต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือ มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ จัดหลักสูตรพิเศษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ IELTS สำหรับนักเรียนไทย เรียนระยะสั้นแบบผสมผสาน 16 สัปดาห์ ให้แก่นักเรียนทุนโครงการทุนกพ. ทุนกระทรวงวิทย์ (NSTDA) และนักเรียนทุนในระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 11 ทุน เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้นักเรียนทุนเหล่านี้สามารถสมัครเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของนิวซีแลนด์ในคณะที่ต้องการและเดินตามฝันได้ง่ายขึ้น

          เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่นักเรียนไทยจะเข้าศึกษาต่อในคณะดังของมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆในต่างประเทศนั้น ต้องผ่านการทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ หรือ การสอบ IELTS ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ไอเอลส์ (IELTS; International English Language Testing System) เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักหรือภาษาประจำชาติ เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน โดยการสอบไอเอลส์ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกคนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีคะแนนขั้นต่ำกำหนดไว้เป็นเกณฑ์ในการรับเข้า ดังนั้น การสอบไอเอลส์จึงถือเป็นบันไดสำคัญของการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของต่างประเทศ

นางสาวจารุวรรณ พงษ์จารุวัฒน์_resize

          นางสาวจารุวรรณ พงษ์จารุวัฒน์ ผู้อำนวยการด้านการศึกษา หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย ระบุว่า หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนนักศึกษาไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาได้มอบทุนพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และทุนภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลกให้กับโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศ เป็นต้น และล่าสุดได้ริเริ่มจัดโครงการทุนเรียนภาษาอังกฤษแบบผสมผสานเพื่อเตรียมสอบ IELTS เชิงวิชาการ ของมหาวิทยาลัยโอทาโก เพื่อเป็นทุนสนับสนุนทุนการศึกษาของโครงการนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนทุนรัฐบาล (ทุนก.พ.) ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ. หรือ OCSC) และทุนนักวิชาการ NSTDA ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้สามารถสมัครเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของนิวซีแลนด์ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังได้มอบทุนให้กับนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และนักเรียนจากโรงเรียนปรินส์รอยัลส์วิทยาลัย ที่เข้าร่วมในโปรแกรมนี้ ซึ่งทุกคนมีความตั้งใจที่จะสมัครในวิชาที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาก เช่น นาโนเทคโนโลยีจนถึงเทคโนโลยีอาหาร

          “หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ หวังว่าหลังจากเรียนจบหลักสูตรพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ IELTS ซึ่งเป็นการเรียนแบบผสมผสาน 16 สัปดาห์ ทุกคนจะสามารถเดินตามความฝันและอนาคตของพวกเขาได้สำเร็จ เพราะศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัยโอทาโก มีชื่อเสียงมากในการพัฒนานักเรียนไทยจำนวนมากให้ประสบความสำเร็จ โดยที่ผ่านมาศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัยโอทาไทยได้สอนนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ และโรงเรียนกำเนิดวิทย์มาหลายปี และสามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและทำให้ผล IELTS ของนักเรียนดีขี้นมากหลังจากจบหลักสูตร” นางสาวจารุวรรณ กล่าวและเสริมว่า

          มหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์ทั้ง 8 แห่งติด Top 3% ของโลก และนิวซีแลนด์ยังถูกจัดเป็นอันดับ 1 จากประเทศที่พูดอังกฤษเป็นหลักในการสอนนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนสู่อนาคตได้ดีที่สุดในโลก จาก The Economist Intelligence Unit ในปี 2019 มหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์มีหลักสูตรที่เหมาะต่อการศึกษาในยุคดิจิทัล เช่น ธุรกิจดิจิทัล ไปจนถึงหลักสูตรสุขภาพการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในหลากหลายสาขา ตั้งแต่การเกษตรไปจนถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ธุรกิจอวกาศหรือการสร้างจรวดอวกาศจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ  (3D Printing) และเทคโนโลยีสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก เป็นต้น

นางสาววิสา แซ่เตีย_resize

          ด้าน นางสาววิสา แซ่เตีย ผู้อำนวยการฝ่ายนักเรียนทุนรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ขอบคุณหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย  และมหาวิทยาลัยโอทาโก ที่ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายและมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนทุนกพ. และทุนนักวิชาการ NSTDA ในครั้งนี้

          ซึ่งจะมีส่วนช่วยเหลือนักเรียนของเราให้เข้าสู่การศึกษาระดับนานาชาติและได้รับความรู้และความสามารถทางภาษาอังกฤษในหลาย ๆ ด้าน และจะช่วยให้นักเรียนของเราพร้อมเรียนในมหาวิทยาลัยระดับโลกในนิวซีแลนด์ต่อไป

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยโอทาโก_resize

          นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง และได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในการเสริมสร้างนักเรียนสู่ทักษะในอนาคต โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในด้านการจัดการศึกษาได้ดีที่สุดในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่อนาคต จากการจัดอันดับของ Worldwide Educating for the Future Index 2019 โดย The Economist Intelligence Unit

          สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ดูได้ที่ www.studyinnewzealand.govt.nz

ปิดความเห็น บน การศึกษานิวซีแลนด์มอบทุนพัฒนาภาษาอังกฤษ IELTS สร้างโอกาสนักเรียนไทยเข้าคณะที่ชอบเดินตามฝันได้ง่ายขึ้น

ว.เทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา ให้โอกาสคนพิการเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย มุ่งเพิ่มศักยภาพ-การเรียนรู้ และสร้างอาชีพให้อย่างยั่งยืน

ว.เทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา ให้โอกาสคนพิการเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย มุ่งเพิ่มศักยภาพ-การเรียนรู้ และสร้างอาชีพให้อย่างยั่งยืน

Posted on 12 มกราคม 2022 by writer

DSC_0278_resize

          วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เปิดสอนวิชาชีพระดับ ปวช./ปวส. ให้แก่คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว มาแล้วกว่า 35 ปี ช่วยให้คนพิการมีงานทำอย่างยั่งยืนกว่า 4,000 คน โดยทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา เรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้จบการศึกษามีงานทำ 100% สนใจคลิกดูรายละเอียดที่  https://www.facebook.com/RVSD.Pattaya/ พร้อมขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้พิการด้วยการบริจาคเงินโดยโอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขาบางละมุง ชื่อบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เลขที่บัญชี : 342-4-73627-4  นำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

อาจารย์ณรงค์ รัตนโสภา-1_resize

          นายณรงค์ รัตนโสภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เปิดเผยว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เปิดสอนวิชาชีพแก่คนพิการประเภท 3  พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย มาแล้วกว่า 35 ปี ทำให้คนพิการมีงานทำอย่างยั่งยืนกว่า 4,000 คน ทุกหลักสูตรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้มีความเหมาะสมด้านอาชีพของคนพิการและตรงความต้องการของสถานประกอบการ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนพิการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพ-การเรียนรู้ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัย เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความสามารถระดับมืออาชีพ

          “ที่ผ่านมาทางวิทยาลัยฯ ได้สร้างความเป็นมืออาชีพให้กับครูผู้สอน ทั้งด้านวิชาการ ทักษะในการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ มีระบบการดูแลคนพิการที่ครบวงจร ทำให้นักเรียนใช้ชีวิตและเรียนอย่างมีความสุข ส่งผลให้สามารถผลิตนักเรียนพิการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และงานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวิทยาลัยฯ คือการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์เพื่อหาช่องทางการสนับสนุน เพื่อให้มีทรัพยากรอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงาน”

156589613_4419724271375595_resize

          ผู้อำนวยการ กล่าวอีกว่า หลักสูตรที่จะเปิดให้มีการเรียนการสอน คือ 1) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)  มีสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2)หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) มีสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล 3)หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น มีหลักสูตรคอมพิวเตอร์สำนักงาน และหลักสูตรช่างเขียนแบบแม่พิมพ์ และ 4) หลักสูตรเตรียมวิชาชีพ สำหรับผู้เรียนที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

          ดังนั้นจึงขอเชิญชวนคนพิการประเภท 3 พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ที่กำลังมองหาเส้นทางพัฒนาตนเองสู่การมีงานทำ สมัครมาเรียนได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา เรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สนใจคลิกดูรายละเอียดที่ https://www.facebook.com/RVSD.Pattaya/ หรือทางอีเมล์  schoolinfo@mahatai.org และผู้มีจิตศรัทราร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้พิการด้วยการบริจาคเงินโดยโอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สาขาบางละมุง ชื่อบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เลขที่บัญชี : 342-4-73627-4  นำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ร่วมทำบุญด้วยการให้ทุนการศึกษา ถือเป็นมหาบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่…

ปิดความเห็น บน ว.เทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา ให้โอกาสคนพิการเรียนฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย มุ่งเพิ่มศักยภาพ-การเรียนรู้ และสร้างอาชีพให้อย่างยั่งยืน

“ชลิต อินดัสทรีฯ” ชวนพนักงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมพลังปลูกป่าชายเลน บ้านคลองโคน สมุทรสงคราม

“ชลิต อินดัสทรีฯ” ชวนพนักงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมพลังปลูกป่าชายเลน บ้านคลองโคน สมุทรสงคราม

Posted on 12 มกราคม 2022 by writer

          เป็นที่ทราบกันว่า “ป่าชายเลน” มีประโยชน์มากมาย นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ยังเป็นแหล่งอนุบาล กุ้ง หอย ปู ปลา เพื่อเป็นอาหารสำหรับชาวบ้าน อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนชั้นดี เพราะด้วยลักษณะของป่าชายเลน  มีใบเยอะ ลำต้นสูง คายน้ำ ชอบน้ำ รากเยอะ ช่วยลดโลกร้อนได้ดี

11-26_8-04-11_resize

          ป่าชายเลนบ้านคลองโคน จ.สมุทรสงคราม ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ป่าชายเลนที่สำคัญ เดิมมีพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 3.7 หมื่นไร่ แต่หลังจากที่มีการบุกรุกเพื่อนำมาทำนากุ้งและใช้ประโยชน์อื่นๆ ทำให้ป่าชายเลนลดน้อยลงมาก ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลใกล้ชายฝั่งได้สูญเสียไป จนชาวบ้านไม่สามารถทำการประมงชายฝั่งได้ ประชากรในพื้นที่แยกย้ายไปประกอบอาชีพในต่างถิ่น

          กิจกรรมปลูกป่าชายเลนบ้านคลองโคน จึงได้ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยนายไพบูลย์ รัตนพงศ์ธระ หรือผู้ใหญ่ชงค์ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนตำบลคลองโคนที่เห็นความสำคัญของป่าชายเลน ร่วมกันปลูกป่าเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูป่าชายเลนคลองโคลนอย่างจริงจัง จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ อีกทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นความสำคัญของการปลูกป่าชายเลน จึงได้เสด็จมาทรงปลูกป่าชายเลนที่คลองโคนด้วยพระองค์เอง ในปี 2540, 2541, 2542, 2545 และ 2547 ส่งผลให้ปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนคลองโคนกลับฟื้นขึ้นมาเขียวขจีอีกครั้งหนึ่ง เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำชายฝั่งมากมาย ช่วยปลุกวิถีการทำประมงพื้นบ้านชายฝั่งให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง มีการรวมตัวกันจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน รวมถึงร่วมกันทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน

11-26_8-04-15_resize

          เพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์ “POP” ร่วมกับ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน ได้จัดกิจกรรม โครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” ปี 2 ขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย นายอธิวัฒน์ และนาง มนัสนันท์ เปรมพุฒิพันธ์ กรรมการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด นำทีมผู้บริหารและพนักงานจิตอาสากว่า 40 คน ร่วมใจปลูกป่าชายเลนคลองโคน ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม โดยได้รับความร่วมมือจาก นายพีร์นิธิ รัตนพงศ์ธระ หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน และชาวบ้านในชุมชน

          นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและจัดกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ รวมถึงด้านดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  โดยโครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า”  ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่2 เพื่อต่อยอดโครงการอละช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการเป็นจิตอาสาให้แก่พนักงานให้เห็นความสำคัญของการร่วมมือร่วมใจเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกิจกรรมงานสิ่งแวดล้อมและช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

11-26_8-04-54_resize

          กิจกรรมครั้งนี้ นอกจากพนักงานจะได้ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลนแล้ว ยังได้ล่องเรือชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน สัมผัสกับบรรยากาศของป่าชายเลนสองข้างทาง แวะให้อาหารลิงแสม เล่นสกีน้ำกิจกรรมสันทนาการแบบพื้นบ้าน ชมวิถีชาวบ้านตามแนวชายฝั่ง ร่วมเรียนรู้กิจกรรมวิถีชีวิตชุมชม และร่วมทำขนมจาก รวมถึงการอุดหนุนสินค้าพื้นบ้านของชุมชน โดย นายพีร์นิธิ รัตนพงศ์ธระ หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน เล่าว่า ชาวบ้านในชุมชนได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างอาชีพที่เกี่ยวเนื่องให้กับคนในชุมชน เช่น กลุ่มกระเตง(ขนำกลางทะเล) กลุ่มชาวเรือ กลุ่มทำอาหาร เป็นต้น เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน ช่วยส่งเสริมกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและนักท่องเที่ยว ได้ทั้งความสนุก ได้สาระความรู้ และความรู้สึกดีๆ ที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติควบคู่กันไป

ปิดความเห็น บน “ชลิต อินดัสทรีฯ” ชวนพนักงาน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมพลังปลูกป่าชายเลน บ้านคลองโคน สมุทรสงคราม

“ชลิต อินดัสทรีฯ” ร่วมแสดงพลัง Blood Hero ช่วยวิกฤติโลหิตขาดแคลน

“ชลิต อินดัสทรีฯ” ร่วมแสดงพลัง Blood Hero ช่วยวิกฤติโลหิตขาดแคลน

Posted on 10 มกราคม 2022 by writer

Chalit Photo_2_resize

          นายชวิศ ยงเห็นเจริญ  กรรมการผู้จัดการ  และนางสาววิมลลักษณ์ ยงเห็นเจริญ กรรมการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยางคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์ “POP”  นำทีมผู้บริหารและพนักงานร่วมบริจาคโลหิตช่วยวิกฤติเลือดขาดแคลน ภายใต้กิจกรรม “ชลิต อินดัสทรี รวมพลังจิตอาสา บริจาคโลหิต ปี 2  ร่วมแสดงพลัง Blood Hero ส่งต่อโลหิตที่ปลอดภัยให้ผู้ป่วยได้ผ่าตัด สานต่อโนโยบายแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)  ที่ใส่ใจให้ความช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่องและปลุกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการเป็น “ผู้ให้” และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีนางสาวจุฑารัตน์  แก้วจันทร์เพชร รักษาการหัวหน้างานรับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาดที่ 11 ให้การต้อนรับ ณ สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม บางแค เมื่อเร็วๆนี้

ปิดความเห็น บน “ชลิต อินดัสทรีฯ” ร่วมแสดงพลัง Blood Hero ช่วยวิกฤติโลหิตขาดแคลน

“ชลิต อินดัสทรีฯ” รวมใจ จิตอาสา ปลูกป่าชายเลน

“ชลิต อินดัสทรีฯ” รวมใจ จิตอาสา ปลูกป่าชายเลน

Posted on 10 มกราคม 2022 by writer

DSC_6996-1_resize_resize

          นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วย นายอธิวัฒน์และนาง มนัสนันท์ เปรมพุฒิพันธ์กรรมการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์ “POP” นำทีมพนักงานจิตอาสาร่วมกิจกรรมโครงการ “ชลิต อินดัสทรี รักษ์น้ำ ปลูกป่า” ปี 2 ร่วมใจปลูกป่าชายเลน ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ และปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการเป็นจิตอาสาให้แก่พนักงาน โดยมี นายพีร์นิธิ รัตนพงศ์ธระ หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เมื่อเร็วๆนี้

ปิดความเห็น บน “ชลิต อินดัสทรีฯ” รวมใจ จิตอาสา ปลูกป่าชายเลน

คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่4 ศึกษาดูงาน รพ.กรุงเทพพัทยา

คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่4 ศึกษาดูงาน รพ.กรุงเทพพัทยา

Posted on 05 มกราคม 2022 by writer

DSC_8689-1_2_resize

            ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต  รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) นำคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 4 กว่า 80 คน อาทิ นพ.มานัส โพธาภรณ์ พลตรี นพ. โชคชัย ขวัญพิชิต นายณรงค์ฤทธิ์   กาละพุฒ   นายณรงค์ฤทธิ์   กาละพุฒ  นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู โดยมี นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม3 เครือ BDMS  และนพ.สีหราช โลหขิตรานนท์  ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ให้การต้อนรับ เพื่อศึกษาดูงาน พร้อมฟังบรรยายหัวข้อ “กรณีศึกษา Digital Marketing and Health Care Services” เพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เมื่อเร็วๆนี้

DSC_8690

ปิดความเห็น บน คณะผู้บริหาร ดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่4 ศึกษาดูงาน รพ.กรุงเทพพัทยา

มกราคม 2022
พฤ อา
« ธ.ค.   ก.พ. »
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31  

RELATED SITES