อาชีพนักออกแบบมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น (Multimedia / Animator artists) ยังคงเป็นอาชีพมาแรงของคนยุคดิจิทัล ทำหน้าที่ออกแบบและสร้างสรรค์ภาพการ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับถึงความโดดเด่นด้านการศึกษาทางด้านนี้
เปิดห้องเรียนจำลองนิวซีแลนด์ “Concept Design” แนวคิดการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจสู่ผลงานยอดเยี่ยม ภายในงานแนะแนวการศึกษาต่อออนไลน์ “New Zealand Higher Education Showcase 2021” ซึ่งหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand) สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ โดยได้รับความสนใจจากน้อง ๆ และผู้ปกครองมากกว่า 600 คน โดยมี แมรี่ เทอร์สตัน รักษาการเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเน้นย้ำว่า เด็กนักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การศึกษาของนิวซีเแลนด์
ภายในงานยังมีการจำลองห้องเรียนนิวซีแลนด์ กับคลาสเรียน Concept Design ของทางมหาวิทยาลัย แมสซี (Massey University) ที่มีหลักสูตรร่วมกับ Weta Workshop เพื่อให้นักเรียนไทยที่เข้าร่วมงานได้ทดลองเรียนฟรี เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านออกแบบและพัฒนาภาพสำหรับแอนิเมชันและการออกแบบเกม โดย รองศาสตราจารย์ธัญญ่า มาร์เรียตต์ จาก มหาวิทยาลัย แมสซี (Massey University) ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งได้นำเนื้อหาบางส่วนของวิชามาให้นักเรียนไทยที่สนใจการออกแบบตัวละครและสร้างแอนิเมชัน มาให้ทดลองเรียน ซึ่งที่นิวซีแลนด์จะเน้นการทำงานเป็นงานกลุ่ม โดยมอบหมายงานโปรเจ็คให้ ซึ่งโปรเจ็คที่ รองศาสตราจารย์ธัญญ่า นำมายกเป็นตัวอย่างได้แก่ โปรเจ็คการประกวด “การออกแบบตัวละครผู้พิทักษ์โลก (Earth Guardians)” ซึ่งนักเรียนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศจากโปรเจ็คนี้
“กว่างานหนึ่งชิ้นจะเสร็จขึ้นมา ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง นักเรียนจะต้องศึกษาและค้นคว้าข้อมูลการออกแบบตัวละครแอนิเมชันผู้พิทักษ์โลกในจินตนาการ รวมทั้งต้องศึกษาโทนสี ประเภทของตัวละคร การศึกษาด้านสุนทรียศาสตร์ ฉากสำคัญของตัวละครในเรื่อง และการเขียนสตอรีบอร์ด และต้องผลิตใช้ได้จริง ในหนึ่งชิ้นงาน น้องๆจะได้เรียนรู้อย่างละเอียดครบถ้วน นักเรียนจะได้คิดเชิงลึกในเรื่องของการออกแบบ ทั้งเรื่องของน้ำหนัก อัตราส่วน รวมถึงวัตถุดิบที่จะเอามาใช้ในการผลิต”รองศาสตราจารย์ธัญญ่า กล่าวและเสริมว่า
ขั้นตอนวิธีการออกแบบตัวละครแอนิเมชันกับผู้เรียนแบบจำง่ายๆ 8 ขั้นตอน ได้แก่
- เตรียมข้อมูลเบื้องหลังการสร้างและออกแบบตัวละคร (Prepare your resource) เช่น เป็นสัตว์ชนิดใด มีโทนและสไตล์อย่างไร กำหนดโครงสร้างตัวละคร
- กำหนดเรื่องราวของตัวละครที่ออกแบบ (Developing Story)
- ระบุรายละเอียดและการนำเสนอตัวละครที่สร้าง (Resolution and presentation)
- ทำความเข้าใจว่าตัวละครที่ออกแบบสะท้อนบุคลิก หรือเรื่องราวอะไร (Critical reflection)
- ออกแบบตุ๊กตาที่มาจากงานแอนิเมชั่น (Fabricate the blind box toy)
- การนำเสนอผลงานของนักออกแบบกับผู้ผลิตให้เข้าใจตรงกัน (Designers and fabricator)
- สร้างโมเดลตุ๊กตาจริง (Modelling for fabrications)
- ผลิตของเล่นจริง (Making toy)